Tuesday, November 27, 2012

บ่อน้ำพญานาค ความเชื่อดึกดำบรรพ์ยุคสุวรรณภูมิ

|0 comments

“แห่กราบไหว้หลุมปริศนา-ตื่นรูพญานาค” เป็นข้อความพาดหัวเล็กของหนังสือพิมพ์ข่าวสด (ฉบับวันพุธที่ 8 เมษายน 2552 หน้า 1) แล้วมีข่าวนำจะขอคัดมาให้อ่านดังนี้
ชาวโพนพิสัย หนองคาย แตกตื่นแห่กราบไหว้ “บ่อน้ำปริศนา” ร่ำลือเป็น “เมืองบาดาลพญานาค” หลังเกิดฝนตกหนักทั้งกลางวันกลางคืน พอรุ่งเช้ามีเสียงคล้ายระเบิดดังสนั่น จู่ๆเกิดบ่อน้ำ ลักษณะคล้ายตาน้ำกลางทุ่งนา จึงไปเชิญร่างทรงมาทำพิธี ก่อนอ้างว่าเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของพญานาคชื่อ “ท้าวเจ็ดสี” มาโปรดสัตว์ ขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
พ่อเฒ่าวัย 71 เผยเมื่อ 5 ปีก่อนเคยเกิดปรากฏการณ์ทำนองนี้ เชื่อกันว่าเป็น “แม่นาคีแดง” พญานาคพี่สาวท้าวเจ็ดสี
ราว 40-50 ปีมาแล้ว มีหนังสือการ์ตูนชื่อ ดาบเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง เป็นการ์ตูนขายดีเล่มหนึ่งในยุคนั้น
พญานาคตัวผู้ชื่อ ท้าวเจ็ดสี กับพญานาคตัวเมียชื่อ แม่นาคีแดง ฟังแล้วกระเดียดไปทางการ์ตูนกับช่อง 7 สีทีวีเพื่อคุณ
ความเชื่อเรื่องบ่อน้ำพญานาคมีมานานมากตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิ ราว 3,000 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย ในเวียงจันกับอำเภอศรีเชียงใหม่ หนองคาย มีเจดีย์ธาตุดำ ก็มีนิทานกำกับว่าเป็นธาตุปิดรูพญานาค หรือบ่อน้ำพญานาคไม่ให้ขึ้นมาอาละวาดข้างบน พญานาคเลยพ่นพิษเผาธาตุจนดำเป็นตอตะโก
บ่อน้ำพญานาคยังมีอยู่ในวัดโพธิ์ชัยศรี บ้านแวง ตำบลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีชาวบ้านไปเคารพกราบไหว้ทุกวันนี้ เพราะลือกันว่าน้ำไม่เคยแห้ง แต่ถ้าผู้หญิงเอาผ้าถุงหรือผ้าซิ่นวางไว้ขอบปากบ่อ น้ำจะแห้งหมด แสดงว่าผู้หญิงมีอำนาจเหนือพญานาค
จอมปลวกก็มีคนแต่ก่อนเชื่อว่ามีขึ้นปิดรูน้ำหรือบ่อน้ำ หนทางขึ้นลงของพญานาคจากบาดาล เพราะใต้จอมปลวกจะมีตาน้ำที่คนแต่ก่อนเรียก ซัม หรือซำ (อันเป็นที่มาคำว่า สยาม) ทำให้เกิดแหล่งน้ำเรียกหนอง, บึง, บุ่ง, ทาม, ฯลฯ
เหตุนี้เองนิทานเรื่องเจ้าชายสายน้ำผึ้งถึงกำหนดให้เด็กเลี้ยงวัวควาย เล่นเป็นกษัตริย์นั่งบนจอมปลวก เท่ากับมีอำนาจคุมน้ำบาดาลของพญานาคได้นี่เอง
คนยุคต้นกรุงศรีอยุธยา หรือยุคทวารวดีเชื่อว่ามีสะดือแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตำบล “บางขดาน” ใต้ตัวเมืองอยุธยาลงไป มีพรรณนาอยู่ในโคลงทวาทศมาสว่า พระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จทางเรือนาค(อนันตนาคราช)ไปทำพระราชพิธีหรือพิธีกรรม “เห่เรือ” ขอขมาผีน้ำผีดินที่ตำบลนี้ ขอให้น้ำลดเร็วๆ ชาวนาจะได้เกี่ยวข้าว
สะดือแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางขดานนี่แหละรูพญานาค หรือทางขึ้นลงบาดาลของพญานาค เป็นความเชื่อเดียวกันกับบ่อพระยานาคของชาวบ้านอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายนั่นเอง
พระราชพิธี 12 เดือน ของราชสำนักกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้งหมดมีที่มาจากประเพณีพิธีกรรมของชาวบ้าน ในสุวรรณภูมิที่ทำมาหลายพันปีแล้ว เมื่อราชสำนักรับแบบแผนชาวบ้านไปแล้วก็ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นโดยเพิ่มพิธี พุทธ-พราหมณ์เข้าไป บางทีไม่เหลือเค้าเดิมให้เห็น เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค ฯลฯ ก็อย่างเดียวกับชาวบ้านโพนพิสัย หนองคาย เป็นต้น
21-04-52
ความเชื่อเรื่องพญานาคมีมาตั้งแต่ยุคดึก ดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว ในวรรณคดียุคต้นอยุธยามีข้อความพรรณนาว่าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จทางเรือไปเห่ เรือขอขมาพญานาคที่“สะดือแม่น้ำเจ้าพระยา” หรือรูพญานาค เช่นเดียวกับบ่อน้ำพญานาคของชาวบ้านโพนพิสัยที่หนองคาย (หลุมอะไร- ชาวโพนพิสัย จ. หนองคาย พากันกราบไหว้บ่อปริศนา ที่เกิดกลางทุ่งนาหลังฝนตก ร่างทรงระบุเป็นการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ของพญานาคชื่อ “ท้าวเจ็ดสี” จากเมืองบาดาลมาโลกมนุษย์ ตามข่าว) (ภาพและคำบรรยายจาก ข่าวสด ฉบับวันพุธที่ 8 เมษายน 2552 หน้า 1)

Wednesday, September 26, 2012

ประเพณีการต้อนรับแขก

|0 comments
ธรรมเนียมไทยถือว่า เมื่อมีผู้มาเยือนถึงบ้าน เจ้าบ้านควรต้อนรับเป็นการแสดงมารยาทอัน ดีงามของเจ้าบ้านมารยาทเป็นคุณธรรมที่ดีที่ทุกคนควรปฏิบัติ
การต้อนรับแขก

จึงควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ
   1. ถ้านัดหมายกับแขกคนใดไว้ ต้องจำวันนัดให้ได้ พอจวนเวลานัด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ใช่แขกมาแล้วรอเราแต่งตัว
   2. เมื่อแขกมาถึงบ้าน ควรเชื้อเชิญเข้าบ้านด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และให้ความเคารพตามควร
   3. จัดที่นั่งในที่อันควร จัดน้ำ บุหรี่ มารับรอง ถ้าแขกนั้นเป็นเพื่อนสนิท ต้องแนะนำให้รู้จักกับสามี หรือภรรยา หรือสมาชิกในครอบครัว แต่ถ้าไม่สนิทสนมและเป็นแขกมาธุระส่วนตัวก็ไม่จำเป็นต้องแนะนำ
   4. ชวนแขกคุย อย่าให้เหงา และแสดงความเห็นใจเมื่อแขกมาปรับทุกข์ด้วย ขณะสนทนาอยู่กับแขก ไม่ควรลุกเดินไปมาบ่อย ๆ หรือมองดูนาฬิกา ซึ่งเท่ากับเป็นการไม่ให้ ความสนใจแก่แขก และเป็นทำนองไล่แขกทางอ้อม คนที่มีมารยาทดีไม่ควรทำอาการรำคาญ หรือง่วงนอน ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยหรือง่วงก็ไม่ควรแสดง
   5. เจ้าบ้านไม่ควร ตำหนิหรือด่าใครต่อหน้าแขก ควรจะพูดหลังเมื่อแขกกลับแล้ว
   6. ถ้าห้องรับแขกมีวิทยุหรือโทรทัศน์ เวลาแขกกำลังสนทนาอยู่ไม่ควรให้ลูกหลานมาเปิดวิทยุฟัง หรือดูโทรทัศน์ที่ในห้องรับแขก
   7. ถ้าแขกมาขอความช่วยเหลือ ถ้าพอช่วยได้ก็ช่วยไปตามควร ถ้าช่วยไม่ได้ก็แสดงความเห็นใจ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
   8. เมื่อแขกกลับ เจ้าบ้านควรลุกออกไปส่งถึงประตูบ้าน พร้อมกับกล่าวแสดงความขอบคุณที่กรุณา มาเยี่ยม และกล่าวเชิญในโอกาสต่อไป
        และในชีวิตการทำงาน การต้อนรับแขกหรือการไปเยี่ยมเยือนบริษัทอื่น ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาและเกิดขึ้นบ่อยๆแต่ก็แฝงไว้ด้วยธรรมเนียมปฏิบัติที่ มองข้ามไม่ได้ เพราะมันสามารถมัดใจผู้ที่คุณติดต่อและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ อย่างง่ายดายแต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่ดูเหมือนง่ายๆ อย่างการต้อนรับแขก หรือการปฏิบัติตัวต่อแขกผู้มาเยือนนั้นกลับกลายเป็นปัญหาของหนุ่มๆ วัยทำงานหลายๆ คนไปอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะพวกมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานทั้งหลายทำให้การเชื่อมสัมพันธ์ครั้ง นั้นไม่ราบรื่นเท่าที่ควร และพลอยให้การทำงานร่วมกันเกิดความล่าช้าและติดขัดอย่างไม่น่าเชื่อ
การทักทาย

        ถ้าหากคุณเป็นแขกไปเยี่ยมสำนักงานอื่น ควรปฏิบัติตัวอย่างสุภาพเช่นเดียวกับคุณไปเยี่ยมเยือนบ้านเพื่อนหรือใน ทางกลับกัน เมื่อคุณต้องต้อนรับผู้อื่นในออฟฟิศตนเอง ควรทำด้วยความมีอัธยาศัยเหมือนกับเป็นเจ้าของบ้านนั่นก็คือก็คือ ต้องแต่งตัวอย่างเหมาะสม ตรงเวลา และสุภาพ
เมื่อคุณเป็นแขก
        ต้องตรงต่อเวลาทุกครั้ง (ในกรณีฉุกเฉินต้องโทรศัพท์ แจ้งผู้ที่เรานัดให้ทราบล่วงหน้า) ตามปกติ คนทำงานมักมีนัดหมายอื่นๆ อีก ดังนั้น ย่อมต้องการเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เมื่อไปถึงสถานที่ให้แสดงนามบัตร พร้อมแนะนำตัว ชื่อ และบริษัทที่ทำงานแก่พนักงานต้อนรับด้านหน้าพร้อมกับแจ้งความประสงค์ ถ้าหากผู้ที่ต้องการพบยังไม่ว่าง และพนักงานต้อนรับเชื้อเชิญคุณนั่งคุณอาจวางกระเป๋าเอกสารไว้บนพื้นหรือบน ตัก แล้วอ่านหนังสือหรือจดโน๊ตรอก็ได้ ข้อสำคัญ จงอย่าไปยุ่มย่ามกับงานของพนักงานต้อนรับ หรือหยิบเอกสารผู้อื่นมาดู เมื่อได้เข้าไปพบกับบุคคลเป้าหมายแล้ว อย่าลืมทักทายด้วยการกล่าว "สวัสดี" ก่อน พร้อมทั้งแนะนำตัวด้วย ถ้าหากว่าพนักงานต้อนรับสักครู่ไม่ได้แนะนำไว้ ในกรณีกลับกัน หากคุณมีแขกมาเยือนถึงที่ทำงาน และมีโทรศัพท์ถึงคุณ คุณน่าจะต่อโทรศัพท์กลับทีหลังดีกว่า ทว่าถ้าเป็นเรื่องสำคัญ ก็ขอโทษและรีบสรุปการเจรจาโดยเร็ว เช่นเดียวกับเวลาที่คุณไปพบคนอื่นแล้วมีโทรศัพท์เข้าคุณควรเสนอตัวออกไปรอ ข้างนอกชั่วขณะ การเข้าพบใดๆ ไม่ควรอยู่นาน และขากลับอย่าลืมขอบคุณพนักงานต้อนรับด้วย
เมื่อคุณเป็นผู้ที่แขกต้องการพบ
        ไม่ควรปล่อยให้เขารอนานเกินความจำเป็น แนะนำตนเองในกรณีที่เขายังไม่รู้จัก หรือหากคุณยังไม่พร้อมที่จะให้เข้าพบก็ควรเชิญไปที่ห้องรับแขก ซึ่งเพียบพร้อมด้วยหนังสือพิมพ์ วารสาร และที่เขี่ยบุหรี่ตามห้องรับแขกใหญ่ๆ ในต่างประเทศ จะไม่มีการเสิร์ฟเครื่องดื่ม ยกเว้นแต่จะมีเครื่องชงกาแฟ ทว่าในเมืองไทยผู้ที่มาเยือนมักได้รับการเสนอว่าต้องการเครื่องดื่มอะไร ชา กาแฟ หรือน้ำเย็น ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาฯหรือมีหน้าที่ในการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ต้องการพบ พนักงานระดับสูงในบริษัทนั้นบางทีอาจพบว่าแขกที่มาไม่ได้เปิดเผยตนเอง ก็จงถามชื่อและประเภทธุรกิจของเขา หรือในกรณีที่เจ้านายยังวุ่นอยู่กับงานก็ควรนัดหมายเสียใหม่จะเหมาะสมกว่า หากเจ้านายไม่อยากพบหน้า คุณต้องหาวิธีหลีกเลี่ยงอย่างมิให้เสียน้ำใจต่อผู้มาเยือนและภาพพจน์ของเจ้า นาย เช่น คุณอาจแจ้งต่อเขาว่า ช่วงนี้เจ้านายคุณคิวเต็มเหยียด ทั้งเรื่องงานและกำหนดนัดหมายอื่นๆ ในกรณีที่แขกมาเยือนเยิ่นเย้อ จะมีผลกระทบต่อนัดหมายอื่นหรืองานประจำ เลขานุการ หรือพนักงานต้อนรับควรเคาะประตูเข้าไปบอก ว่าถึงเวลาอีกนัดหนึ่งแล้ว เท่ากับแจ้งเป็นนัยๆต่อแขกว่าถึงเวลาต้องกลับเสียที
ปัญหาอันเนื่องมาจากแขกผู้มาเยือน จริงๆ แล้วโอกาสที่เกิดขึ้นคงไม่บ่อยนัก แต่ก็เป็นได้ เมื่อแขกไม่ได้ดังความประสงค์อาจเกิดอารมณ์โกรธและเอะอะขึ้น ถ้าบริษัทจ้างยามหรือหน่วยรักษาความปลอดภัย ก็จงแจ้งขอความช่วยเหลือจากเขา หรือหากไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คุณต้องร้องขอให้บุคคลที่ 3 มาร่วมในเหตุการณ์ เพื่อเป็นประจักษ์พยานป้องกันแขก มิให้นำเรื่องราวไปบิดเบือน จนกลายเป็นความเสื่อมเสียต่อทั้งคุณและบริษัท
การแนะนำตัว
การแนะนำตัวนั้น จะว่าง่ายก็ไม่เชิง จะว่ายากก็ไม่ใช่ กฏระเบียบทางสังคมเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง หน้าไม่แตก สิ่งสำคัญขิงการแนะนำตัว คือ ชื่อ ตำแหน่ง ยศ หรือข้อมูลใดๆ ที่สำคัญ อันเป็นการอธิบายบุคคลผู้ถูกแนะนำให้เป็นที่รู้จักกันได้ง่ายขึ้น
กฏง่ายๆ สำหรับการแนะนำตัว มีดังนี้
   1. ควรแนะนำตนเองทันที เมื่อเห็นว่าผู้อื่นจำชื่อคุณไม่ได้
   2. ใช้การแนะนำตัวว่า "สวัสดี" ในตอนพบปะและอำลา
   3. เมื่อคุณต้องแนะนำผู้อื่นต่ออีกบุคคลหนึ่ง อย่าลืมว่าต้องเอ่ยถึงผู้ที่มียศศักดิ์ก่อน เช่น "ท่าน ผอ.ฉัตรชัย นี่คุณนวลเนียนพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ของบริษัทครับ"
   4. แนะนำบุคคลระดับบริหารของบริษัทคุณ ต่อคนระดับบริหารเช่นกันของบริษัทอื่น เช่น คุณหนึ่ง
นี่คุณสอง ผอ.ฝ่ายขายของบริษัท.... คุณสอง นี่คุณหนึ่ง ผอ.ฝ่ายตลาดของบริษัท.......ครับ"
   1. แนะนำพนักงานอาวุโสน้อยต่อพนักงานที่มีอาวุโสมากกว่า
   2. แนะนำพนักงานของบริษัทต่อลูกค้า เช่น คุณสาม....นี่คุณห้า ผอ.ฝ่ายขายของบริษัท.....คุณห้า นี่คุณสาม จากบริษัท.........."
   3. แนะนำฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง เมื่อทั้งสองฝ่ายอยู่ในสถานะเท่ากัน
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำ ที่น่าจะทำให้กับเยี่ยมเยือนและต้อนรับแขกของคุณมีความราบรื่นและดูดียิ่ง ขึ้นในสายตาของใครๆ มารยาทในสังคมเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ รู้ไว้ไม่มีเสียหายมีแต่จะได้ประโยชน์


ที่มา: คลังปัญญาไทย, www.panyathai.or.th

การแต่งงานแบบไทย

|0 comments
การแต่งงานแบบไทย

.

         พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย การแต่งงานเกิดขึ้นหลังจากที่ฝ่ายชายและหญิงเกิดความรักใคร่ชอบพอกันในเวลา อันสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะบอกกับพ่อแม่ ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิง

          ในสมัยนี้พิธีการแต่งงาน ได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่สิ้นเปลืองก็ตัดออกไป แต่ยังคงรักษาพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยสืบต่อกันมา
การสู่ขอ
          ผู้ที่ได้มอบหมอบที่มาสู่ขอตามธรรมเนียมประเพณีไทยเรียกว่า "เฒ่าแก่" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีฐานะดี มีผู้ให้การเคารพนับถือ และที่รู้จักพ่อแม่หรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้จักอุปนิสัยใจคอของฝ่ายชายเป็นอย่างดี เพราะตัวเฒ่าแก่จะเป็นผู้รับรองในตัวฝ่ายชาย

พิธีการสู่ขอ
         เฒ่าแก่จะไปพบพ่อแม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เพื่อทำการเจรจาสู่ขอ สมัยโบราณต้องมีการเลียบเคียงด้วยวาจาอันไพเราะ ดังนี้  "ได้ยินมาว่า บ้านนี้มีฟักแฟงแตงเต้าดกงาม ก็ใคร่จะมาขอพันธุ์ไปเพาะปลูกบ้าง" หากทางฝ่ายหญิงทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว ในวันที่เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะมาเจรจาสู่ขอ จะมีการจัดบ้านและแต่งตัวให้สวยงามเป็นพิเศษ หรืออาจมีการจัดเตรียมอาหารไว้เลี้ยงฉลองกันตามธรรมเนียม

          หลังจากการเจรจาผ่านไปได้ด้วยดี โดยตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี สมัยก่อน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่ยกลูกสาวให้โดยง่ายในการเจรจาสู่ขอครั้งแรก อาจผัดผ่อน เพื่อจะสืบประวัติฝ่ายชาย และถามความสมัครใจจากฝ่ายหญิงก่อน หรือขอวันเดือนปีเกิดของฝ่ายชายไว้เพื่อผูกดวงตรวจดูเสียก่อน แต่ถ้าฝ่ายหญิงปฏิเสธการสู่ขอ สามารถยกเหตุเรื่องดวงชะตาของทั้งสองฝ่ายไม่สมพงศ์กันมาเป็นข้ออ้างได้ เพื่อเป็นการถนอมน้ำใจซึ่งกัน หากเป็นในปัจจุบัน การเจราจาสู่อาจตกลงกันได้เลยในครั้งแรก เพราะพ่อแม่ฝ่ายหญิงได้รู้จักฝ่ายชายมาบ้างแล้ว

การแจ้งผลการสู่ขอ
          หากการเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่น มีการตกลงกันเรื่องสินสอดทองหมั้นและการหาฤกษ์ยามสำหรับจัดพิธี เฒ่าแก่จะเป็นผู้แจ้งข่าวดีแก่ทางฝ่ายชาย และดำเนินการพูดคุยเพื่อเตรียมการ เช่นการจัดขบวนขันหมากซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง ต้องถามจำนวนแขกของฝ่ายชาย เพื่อให้ไม่เกิดความบกพร่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในเรื่องการเลี้ยงดูปูเสื่อของธรรมเนียมไทย
การปลูกเรือนหอ

          หลังจากเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ในสมัยโบราณฝ่ายชายต้องทำการปลูกเรือนหอ ซึ่งควรปลูกให้เสร็จก่อนถึงวันแต่งงาน อาจเป็นเพราะการเว้นระยะจากการหมั้นค่อนข้างนานจึงจะทำการแต่ง จึงมีเวลาปลูกเรือนหอได้ทัน ในปัจจุบัน หากมีทรัพย์น้อยอาจจะต้องทำการกู้เงินเพื่อมาปลูกเรือนหอหรือซื้อบ้านแบบ วิธีซื้อผ่อนสักระยะหนึ่งก็ได้เป็นกรรมสิทธิ์ หากว่ายังไม่พร้อม อาจขออาศัยอยู่บ้านของพ่อแม่ของฝ่ายชาย ซึ่งเรียกว่า วิวาหมงคล แต่หากฝ่ายชายมาอยู่บ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง เราเรียกว่า อาวาหมงคล

การหมั้น
          หลังจากได้มีเจรจาสู่ขอเป็นที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว บางครั้งทางผู้ใหญ่ต้องการให้มีการหมั้นกันสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยจัดงานแต่งภายหลัง เพื่อให้โอกาสทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายได้ศึกษาอุปนิสัยกันมากขึ้น ต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น รวมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้น หรือที่เรียกว่า " ขันหมากหมั้น " ตามธรรมเนียมการหมั้นนั้น เท่ากับเป็นการจอง หรือวางมัดจำไว้นั่นเอง หญิงที่ถูกหมั้นถือว่าได้ถูกจองไว้แล้ว จะไปรับจากชานอื่น หรือผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะยกให้ใครอื่นอีกไม่ได้จะลองมองกันให้ดีแล้ว
สินสอดทองหมั้น หรือของหมั้น

          โดยปกติการแต่งงานลูกสาว มักถือเป็นงานออกหน้าออกตาใหญ่โต ทางฝ่ายหญิงจึงพยายามเรียกร้องกันมากๆ คือเรียกของหมั้นที่มีราคาแพง เดิมทีการหมั้นมักจะเรียกเป็นทองคำ และการเรียกเป็นน้ำหนัก จนเป็นศัพท์ติดปากมาจนกระทั่งบัดนี้ว่า "ทองหมั้น" ซึ่งประเพณีโบราณถือเป็นของเจ้าสาว ที่จะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว เพื่อเป็นทรัพย์สมบัติติดตัวในเวลาแต่งงาน

          นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้อีกด้วย เรียกว่า "สินสอด" ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ถือกันว่า เป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม

การกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น
          การกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น โดยมากนิยมกำหนดตอนเช้า ก่อนเที่ยง หรือไม่ก็ควรเป็นตอนบ่าย นอกจากนั้นต้องมีการหาฤกษ์อีก 3 ฤกษ์ คือ ฤกษ์ขันหมากนิยม ฤกษ์รดน้ำและทิศทางที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะนั่ง และฤกษ์ปูที่นอนและส่งตัว ซึ่งประเพณีโบราณถือว่าสำคัญมาก มักจะให้พระผู้ใหญ่หรือพราหมณ์เป็นผู้หาฤกษ์ โดยถือเกณฑ์ดวงชะตาของฝ่ายหญิงและฝ่ายชายเป็นหลักในการคำนวณ หรือในสมัยนี้อาจปรึกษาโหราจารย์ที่น่าเชื่อถือได้

ขันหมากหมั้น
          เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ตามที่ได้กำหนดไว้ ฝ่ายชายจะเตรียมขันหมากหมั้นเพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิงโดยเฒ่าแก่ ฝ่ายชายจะเป็นผู้นำไปมอบให้ฝ่ายหญิง เฒ่าแก่ฝ่ายชายซึ่งอาจเป็นคนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำแทนก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมาก ตอนแต่งควรเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ

การจัดขั้นหมากหมั้น
           เฒ่าแก่ขั้นหมากหมั้น นิยมใช้คู่สามีภรรยาที่อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข เป็นการถือเคล็ดชีวิตคู่ บางแห่งอาจให้ฝ่ายหญิง หรือฝ่ายชายเป็นผู้ทำหน้าที่เฒ่าแก่ ขั้นหมากหมั้นเพียงคนเดียวก็ได้   ขันหมาก โดยมากใช้ขันทอง ขันถม หรือขันเงินแล้วแต่ฐานะ
สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นหมากหมั้นนั้น

           ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป ใช้หมากดิบ ทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ต้องเป็นระแง้หรือตะแง้ ( กิ่งที่แยกออก จากทะลายหมาก) เดียวกัน หรือถ้าต่างระแง้ก็ต้องมีระแง้ละ 2 ผล หรือ 4 ผล คือต้องเป็นคู่ เพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก มีพลูใบ 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้ เรียงละ 5 ใบ หรือ 10 ใบ ตัดก้านเสียแล้วใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของของใบพลูทุกใบแล้วให้วางเรียงเข้า รอบๆ ภายใน ของขัน ดูให้เสมอกัน และก็เพราะเหตุที่ขันนี้ใส่หมากนั่นเอง จึงเรียกว่า "ขันหมาก" ซึ่งขันมีขนาดเล็กกว่าขั้นสินสอด

ขั้นสินสอด หรือขั้นหมั้น
           ใช้ขันขนาดและชนิดเดียวกับขันหมาก ภายในบรรจุเงินทองหรือของหมั้นค่าสินสอดตามที่ตกลงกับทางฝ่ายหญิงไว้แล้ว เช่น สร้อย แหวน กำไล ฯลฯ อาจมีการใส่เศษเงินเพิ่มเข้าไปเป็นการถือเคล็ดว่า เงินสินสอดนี้จะได้งอกเงยได้ดอกออกผล และใส่ใบเงิน ใบทอง ใบนาถ ใบแก้ว ใบรัก และเย็บถุงแพรเล็กๆ ใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา แล้วใช้ผ้าแพรคลุมไว้ บางทีแยกขั้นหมากเป็น 2 คู่ คือใส่หมากพลู 1 คู่ และขั้นสินสอด 1 คู่ บางทีไม่แยก แต่เพิ่มขันใส่ใบเงินใบทอง ถุงข้าวเปลือก ถั่วงาอีกขั้นหนึ่ง ไม่จัดปนอยู่ในขันหมากพลูและขันสินสอด

ดอกไม้ธูปเทียน
          ธูปเทียนที่ใช้ในพิธีนี้จะใช้ธูปแพ เทียนแพ ส่วนดอกไม้นั้นจะเป็นดอกอะไรก็ได้ จะใส่ในกระทงมีกรวยปิดตั้งไว้บนธูปแพเทียนแพอีกที

ผ้าไหว้
          มี 2 อย่าง คือผ้าไหว้พ่อแม่และผู้ที่มีพระคุณที่ได้อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายหญิง อาจเรียกเป็นสำรับๆ ถ้าผู้ที่ไปไหว้เป็นผู้หญิงให้ใช้ผ้าลาย กับผ้าแพรห่ม หรือว่าจะเป็นผ้าไหมก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายก็เป็นผ้าม่วงนุ่ง กับผ้าขาวม้า หากมีการเรียกผ้าไหว้แล้วต้องเรียกทั้งสองอย่างเสมอ ผ้าไหว้ผีจะต้องเป็นผ้าขาวเพื่อนำไปเย็บเป็นสบง หรือจีวรสำหรับถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว ผ้าไหว้ทั้งสองอย่างจะจัดใส่พานแยกกัน

เครื่องขันหมาก
          ประกอบไปด้วย ขนมและผลไม้ มากน้อยแล้วแต่ตกลงกันไว้ บางทีอาจเพิ่มสุราหรือเครื่องยาเซ่นสำหรับไหว้ผีบรรพบุรุษก่อนทำพิธีหมั้น ด้วย

การจัดขบวนขันหมากหมั้น
          เมื่อได้ฤกษ์ขั้นหมาก (โดยมากมักเป็นตอนเช้าเช่นเดียวกับฤกษ์หมั้น) การจัดขบวนขั้นหมากตามที่ได้ตกลงไว้กับฝ่ายหญิง โดยเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะต้องจัดหาหญิงสาว หรือเด็กที่หน้าตาหมดจด (โดยมากมักใช้ลูกหลาน) เป็นผู้เชิญขั้นหมากไปยังบ้านเจ้าสาว เพราะการเชิญขั้นหมาก สินสอด หรือผ้าไหว้นี้ ถือว่าเป็นเกียรติยศ เมื่อมอบหมายหน้าที่เรียบร้อยแล้ว ก็จัดเข้าขบวนออกจากบ้านฝ่ายชายไปบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งต้องตรงกับฤกษ์พอดี

          เมื่อมาถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็จะจัดขบวนอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่นิยมจัดให้คนเชิญดอกไม้ธูปเทียนเป็นผู้นำขบวนแสดงถึงการคารวะ ถัดมาก็เป็นคนถือขันหมาก แล้วก็ขันสินสอด ตัวเฒ่าแก่ และผ้าไหว้ หรือบางทีตัวเฒ่าแก่ก็เดินคุมหลัง หรือเดินเคียงขบวน จะว่าอะไรขึ้นก่อนนี้ไม่แน่นอน บางทีอาจใช้ขันหมากนำหน้า เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญ
การยกขันหมากหมั้น

          เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี เฒ่าแก่ขั้นหมากหมั้น จะทำการยกขั้นหมากหมั้นไปยังบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งทางฝ่ายหญิงจะจัดเฒ่าแก่ไว้ต้อนรับเช่นกัน เมื่อขั้นหมากหมั้นยกมาถึง จะมีเด็กเล็กๆ หน้าตาหมดจดแต่งตัวน่ารัก โดยมากมักเป็นลูกหลานของฝ่ายหญิง ทำหน้าที่ถือพานหมากออกมารับ ในพานจะมีหมากพลูที่เจียนและจีบเป็นคำๆ ใส่ไว้นับเป็นจำนวนคู่ พอขันหมากหมั้นมาถึง เด็กจะส่งพานหมากพลูให้แก่เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายรับแล้วก็จะให้เงินเป็นของขวัญพร้อมทั้งคืนพานหมากให้ ด้วย ซึ่งก่อนคืนอาจับไปเคี้ยวกินพอคำเป็นพิธี  หลังจากนั้น เด็กจะนำไปยังสถานที่ซึ่งทางฝ่ายหญิงจัดไว้เพื่อทำพิธีหมั้น ซึ่งก่อนจะถึงห้องที่เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงคอยต้อนรับอยู่ บางทีจะมีเด็ก (ลูกหลานฝ่ายหญิง) ถือเข็มขัดเงินหรือสายสร้อยเงินมากั้นประตู เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะต้องภามว่าประตูอะไร ผู้กั้นจะตอบว่า "ประตูเงิน" แล้วเฒ่าแก่ฝ่ายชายก็ควักเงินห่อที่เตรียมไว้ ให้เป็นรางวัล เด็กจึงยอมให้ผ่าน อาจกั้นตั้ง 2-3 ประตูก็ได้ ยิ่งประตูเข้ามาใกล้ยิ่งมีค่ามากขึ้น คือใช้ทองหรือเพชรกั้นประตู ซึ่งเฒ่าแก่ฝ่ายชายต้องมีการตกลงกับทางฝ่ายหญิงก่อนว่าจะมีการกั้นประตูหรือ ไม่ และกี่ประตู จะได้เตรียมเงินไว้เป็นรางวัลถูก เมื่อห้องที่เตรียมไว้แล้ว เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะออกมาต้อนรับเชิญเฒ่าแก่ฝ่ายชายให้นั่งและวางขันหมากและ บริวารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากพักดื่มน้ำพอหายเหนื่อยแล้วจึงจะเริ่มทำพิธี

การนับสินสอดทองหมั้น
          ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจา เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนออกและเป็นผู้เริ่มต้นก่อน โดยพูดถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้นๆ มาให้ฝ่ายหญิงด้วยเงินสินสอดทองหมั้นเท่านั้นเท่านี้ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ ฝ่ายหญิงทำการเปิดตรวจนับดูว่า ถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า

          เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้และกล่าวเห็นดีเห็นงามในการหมั้นครั้ง นี้ด้วย และร่วมพูดคุยเพิ่มความสนิทสนม หลังจากนั้น เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็เปิดผ้าที่คลุมออกแล้วส่งให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงเพื่อตรวจนับ สินสอดตามธรรมเนียม โดยต้องมีการตรวจนับต่อหน้า เฒ่าแก่และญาติทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงก็จะนำแป้งกระแจะซึ่งใส่โถปริกเตรียมพร้อมไว้แล้ว ออกมาเจิมเงินสินสอดเพื่อเป็นสิริมงคล

          หากมีแหวน หรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่ายจะเรียกให้ฝ่ายชายหรือว่าที่เจ้าบ่าวทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน ซึ่งพิธีการสวมแหวนหมั้นนี้นิยมใช้กันมาก คือตัดขั้นตอนการยกขบวนขันหมากหมั้นออกไป เหลือเพียง แต่นำสินสอด หรือของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการกินเลี้ยงฉลองกันในหมู่ญาติ ทั้งแล้วแต่จะเห็นสมควร ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษา อาจนำเงินสินสอดมาในวันทำพิธีแต่งงาน ซึ่งเรื่องนี้แล้วแต่การตกลงของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย

          เมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้นหรือของหมั้นไปเก็บรักษาไว้ ก็คืนขันหรือภาชนะมักจะมีของแถมพกให้แก่ผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับผู้เฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะได้ของสมนาคุณพิเศษ หลังจากนั้นร่วมกันกันเลี้ยงฉลองการหมั้น ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ

การผิดสัญญาหมั้น
          หากฝ่ายชายผิดสัญญาไม่มาทำการแต่งงานตามวันเวลาที่กำหนด ทำให้ฝ่ายหญิงเป็นหม้ายขันหมาก ฝ่ายชายจะต้องถูกริบสินสอด ทองหมั้น จะเรียกร้องคืนไม่ได้

          หากฝ่ายหญิงผิดสัญญา คือไม่ยอมแต่งงานกับฝ่ายชายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องคืนสินสอดทองหมั้นทั้งหมดแก่ฝ่ายชาย ด้วยเหตุนี้เฒ่าแก่อาจต้องจดบันทึกรายการของหมั้นเอาไว้เป็นหลักฐาน แต่มักไม่นิยมเพราะเหมือนกับว่าไม่ไว้ใจกัน การผิดสัญญาหมั้น

ฤกษ์ยามเกี่ยวกับการแต่งงาน
          คนไทยเป็นชาติหนึ่งที่เชื่อถือเรื่องเกี่ยวกับเรื่องฤกษ์ยาม เคล็ดลาง มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะฤกษ์การทำพิธีมงคลต่างๆ รวมกระทั่ง เรื่องการแต่งงาน จะต้องมีการดูฤกษ์ยามตั้งแต่ วันที่ส่งเฒ่าแก่ไป เจรจาสู่ขอ วันหมั้น วันแต่งงาน รวมไปถึงฤกษ์ในการปลูกเรือนหอ ส่งตัวเจ้าสาว และฤกษ์เรียงหมอน

          เกี่ยวกับเรื่องฤกษ์ยาม เริ่มจากวัน คือต้องเป็นวันดี เช่น วันอธิบดี วันธงชัย ส่วนเดือนที่นิยมแต่งงานกัน ได้แก่ เดือน 6 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 2 และเดือน 4 แล้วแต่ความนิยมเชื่อถือ

ฤกษ์เดือนแต่ง
         การที่นิยมแต่งงานเดือน 2 เดือน 4 เดือน 10 เพราะนิยมถือเป็นเดือนคู่ ซึ่งคำว่าคู่ หรือสิ่งที่เป็นคู่นี้มีความหมาย และสำคัญมากในพิธีการแต่งงาน เพราะหมายถึงการเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่  บางทีก็แต่งงานเดือน 9 ถือเคล็ดถึงความก้าวหน้า เนื่องจากคำว่า "เก้า" กับ "ก้าว" ออกเสียงใกล้เคียงกัน บางตำราบอกว่าเป็นการเลื่อนการแต่งงานในเดือน 8 ซึ่งเป็นเดือนคู่ แต่เป็นช่วงเข้าพรรษา จึงเลื่อนมาเป็นเดือน 9 แทน คือเลี่ยงเทศกาลทางศาสนาและถือเคล็ดความก้าวหน้าไปพร้อมกัน บางทีอาจแต่งในเดือน 8 แต่แต่งงานก่อนวันเข้าพรรษา

          เดือนที่นิยมแต่งงานมากที่สุดคือ เดือน 6 เพราะเริ่มเข้าสู่หน้าฝน อาจเพราะบรรยากาศโรแมนติกกว่าแต่งงานหน้าอื่น และเป็นต้นฤดูทำการเพาะปลูกของคนไทย ซึ่งเป็นการเริ่มชีวิตใหม่สร้างฐานะครอบครัวร่วมกัน

           เดือนที่ไม่นิยมแต่งงานคือ เดือน 12 เพราะเป็นช่วงที่สุนัขติดสัด แม้ว่าเป็นเดือนคู่ก็ตาม คงเพราะเป็นช่วงที่น้ำป่าไหลท่วมบ้านเรือน หรือข้าวปลาอาหารไม่สมบูรณ์ การคมนาคมไม่สะดวกก็เป็นได้ แต่ปัจจุบันความเชื่อเรื่องเดือนนั้นไม่เคร่งครัดเท่าไร
ฤกษ์วันแต่ง

          วันที่ไม่นิยมแต่งงานกัน คือ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ ทั้งนี้ในแต่ละท้องถิ่นมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป สาเหตุที่ไม่แต่งงานวันอังคารและวันเสาร์ เพราะถือว่า วันทั้งสองเป็นวันแข็ง เหมาะสำหรับใช้ทำการเกี่ยวกับพิธีเครื่องรางของขลัง สาเหตุที่ไม่แต่งงานวันพุธ เพราะถือเป็นวันสุนัขนาม คือถือเคล็ดเกี่ยวกับชื่อ สาเหตุที่ไม่แต่งงานวันพฤหัสบดี เพราะถือเป็นวันครู และมีตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้า คือพระพฤหัสบดีที่ทำการแต่งงานกับบุตรสาวในวันนี้ ต่อมาบุตรสาวมีชู้จึงถือว่า เป็นวันที่ไม่ควรทำพิธีแต่งงาน บุตรสาวของพระพฤหัสบดีคือพระจันทร์ แต่งกับพระอาทิตย์ เป็นชู้กับพระอังคาร นอกจากนี้ยังมีวันที่ห้ามแต่งงานในวันที่ตรงกับ วันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ ซึ่งจะไม่ตรงกันในแต่ละปี

พิธีรับไหว้
          การทำพิธีรับไหว้นี้จัดขึ้นเพื่อแสดงความคารวะนบนอบต่อบิดามารดา และบรรดาผู้ใหญ่ นอกจากนี้เงินที่ได้จากพิธีรับไหว้ ถือว่าเป็นเงินทุนให้แก่คู่บ่าวสาวอีกด้วย เหมือนกับพิธียกน้ำชาในการแต่งงานแบบคนจีน หลายคนคงเคยเห็นในภาพยนตร์จีนมาแล้ว
          สำหรับสถานที่ในการจัดงาน นิยมเน้นความสะดวกของคู่บ่าวสาว คือจัดเก้าอี้ หรือเสื่อไว้ ผู้ใดจะทำพิธีไหว้ก็มานั่งในสถานที่นั้นต่อหน้าคู่บ่าวสาว พอทำพิธีเสร็จแล้วจึงลุกออกไป เพื่อให้ผู้อื่นมาทำพิธีรับไหว้ต่อ ซึ่งการไหว้นั้นจะเรียงตามลำดับอาวุโส ส่วนใหญ่ พ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นเจ้าภาพจะให้เกียรติโดยให้ทางฝ่ายชายก่อน หรือจะให้ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายก่อนก็ได้ ไม่เคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าไร

            พิธีการรับไหว้ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงหรือชายไปนั่งคู่กันในที่จัดไว้ เจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งนั่งคู่กันอยู่ตรงข้าม จะกราบลงพร้อมกันที่หมอนสามครั้งรวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากเป็นญาติคนอื่นๆ กราบหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องแบมือ แล้วส่งพานดอกไม้ธูปเทียนให้ พ่อแม่รับและให้ศีลให้พรอวยพรให้ทั้งคู่

            หลังจากนั้น หยิบเงินรับไหว้ใส่ในพาน หยิบด้ายมงคลหรือสายสิญจน์เส้นเล็กๆ ผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวแสดงการรับไหว้ หลังจากทำพิธีรับไหว้เสร็จ อาจมีการเพิ่มทุนให้แก่คู่บ่าวสาว โดยนำพานใส่ใบเงินใบทองมาวางไว้ นำเงินรับไหว้มาทับไว้ข้างบน ต่อจากนั้นพ่อแม่ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายที่มีความประสงค์จะมอบเงินเพิ่ม ทุนให้แก่คู่บ่าวสาว ก็ใส่เพิ่มตามความพอใจ ต่อจากนั้น จึงนำถั่วงา และแป้งประพรมพร้อมอวยพร
พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว
           ตามธรรมเนียมไทย เมื่อทำพิธีหรืองานมงคลใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องทีการทำบุญสร้างกุศลมาเกี่ยวข้องเสมอ เพื่อเป็นการสร้างสิริมงคล และนี้ก็เช่นกันการร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ซึ่งนิยมทำกันหลังจากพิธีรับไหว้ คือเจ้าภาพจะเป็นผู้นิมนต์พระมาสวดเจริญพุทธมนต์และรับอาหารบิณฑบาต

          การตักบาตรสมัยก่อนให้คู่บ่าวสาวตักคนละทัพพี แต่ปัจจุบันนิยมให้ตักทัพพีเดียวกัน ตักบาตรพร้อมกัน ต่อไปชาติหน้าจะได้เกิดมาคู่กันอีก มีความเชื่อเกี่ยวกับการตักบาตรของคู่บ่าวสาว ถ้าผู้ใดจับที่ยอดหรือคอทัพพี ผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่เหนือกว่าคู่ของตน ซึ่งต้องเลื่อนมาจับที่ปลายทัพพี อย่างนี้คงต้องแย่งกันจับน่าดูเลย วิธีแก้เคล็ดด้วยการผลัดกันจับที่คอทัพพีอย่างนี้ ก็ไม่มีใครเหนือใคร เสมอภาคแบบนี้ดีกว่า

          เกี่ยวกับการนิมนต์พระมาสวด แต่ก่อนนิยมมาเป็นคู่ เช่น 4 หรือ 8 องค์ แต่ปัจจุบันนิยม 9 องค์ เพราะคนไทยเชื่อถือเกี่ยวกับตัวเลข 9 ว่าเป็นเลขมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า โดยนับพระประธานเป็นองค์ที่ 10 ครบจำนวนคู่พอดี ในการทำพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ทั่วไปนั้น เจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดธูปเทียนบูชาพระ แต่ในงานมงคลสมรสมักนิยมให้คู่บ่าวสาว เพราะถือว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในงาน รวมถึงการถวายขันและเทียนเพื่อให้พระทำน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งจะนำมาเป็นน้ำสังข์สำหรับหลั่งในพิธีรดน้ำต่อไป

            การตักบาตรร่วมกันของคู่บ่าวสาว อาจกระทำอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น หลังจากวันแต่งงาน โดยคู่บ่าวสาวต้องตื่นนอนแต่เช้า นำอาหารคาวหวานไปดักรอพระที่ออกบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน หรือจะไปตักบาตรที่วัดเลยก็ได้ ต้องทำติดต่อกัน 3 วัน, 7 วัน หรือ 9 วัน เพื่อความเป็นสิริมงคล

พิธีรดน้ำสังข์
          หลังจากที่คู่บ่าวสาวได้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระสวดพุทธมนต์ และถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ก็ได้ฤกษ์รดน้ำหรือหลั่งน้ำสังข์ พระผู้เป็นประธาน จะทำการเจิมให้แก่บ่าวสาว ฝ่ายชายนั้นพระท่านสามารถที่จะทำการเจิม 3 จุดได้โดยตรง แต่หากเป็นฝ่ายหญิงแล้ว พระท่านไม่สามารถถูกเนื้อต้องตัวได้ จึงต้องจับมือฝ่ายชายเจิมหน้าผากให้เจ้าสาวของตน       หลังจากนั้น จึงทำมงคลแฝดสวมให้คู่บ่าวสาวคนละข้าง มีสายโยงห่างกันประมาณ 2 ศอกเศษเพื่อความสะดวก และส่วนปลายของมงคล จะโยงมาพันที่บาตรน้ำมนต์ และหางสายสิญจน์ พระสงฆ์จะส่งกันไปโดยจับเส้นไว้ในมือ จนถึงพระองค์สุดท้ายก็จะวางสายสิญจน์ไว้ที่พาน หากเป็นการรดน้ำตอนเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน จะเป็นมงคลแฝดแบบไม่มีสายโยง    คู่บ่าวสาวต้องนั่งในที่จัดไว้ ซึ่งจะมีหมอนสำหรับรองรับมือและพานรองน้ำสังข์ ส่วนเพื่อนเจ้าบ่าวจะยืนให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง และญาติผู้ใหญ่ก็จะทยอยกันมารดน้ำสังข์ตามลำดับ เกี่ยวกับการเลือกเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว มีคติความเชื่อว่า ควรเลือกที่อายุน้อยหรือใกล้เคียงกับคู่บ่าวสาว และในช่วงที่ใกล้หรือมีโครงการจะแต่งงานเร็วๆ นี้ เพราะหากว่าเป็นคนโสดอาจจะต้องกลายเป็นเพียงเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวกันไปตลอด ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าบ่าวเจ้าสาวตัวจริงกันเสียที แต่ความจริงแล้วอาจเป็นเพราะผู้ใหญ่ต้องการให้ผู้ที่ใกล้แต่งงานได้ดูขั้น ตอนการแต่งงาน เมื่อถึงคราวตนเองจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและไม่เคอะเขิน

ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำ
           ความเป็นมาของหอยสังข์ที่นำมาใช้ในพิธี คุณเคยคิดสงสัยไหมว่า ทำไมต้องใช้หอยสังข์เป็นภาชนะใส่น้ำมนต์หลั่งอวยพรให้คู่บ่าวสาว ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า หอยสังข์เป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 14 อย่าง อันเกิดจากกวนเกษียรสมุทรของเหล่าเทวดาและอสูร บางเชื่อว่าครั้งหนึ่งสังข์อสูรได้ลักเอาพระเวทไปซ่อนไว้ในหอยสังข์ พระนารายณ์ได้อวตารไปปราบและสังหาร แล้วทรงล้วงเอาพระเวทออกมาจากสังข์ ทำให้ปากหอยสังข์มีรอยพระหัตถ์ของพระนารายณ์ จึงถือกันว่าสังข์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเคยเป็นที่รองรับพระเวท การนำมาใส่น้ำมนต์รดให้คู่บ่าวสาว เชื่อกันว่าเป็นสิริมงคล

ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำ
          เมื่อคู่บ่าวสาวสวมแฝดมงคล และนั่งพนมมือคู่กันในที่จัดไว้แล้ว จะมีคนคอยตักน้ำพระพุทธมนต์เติมในสังข์ เพื่อส่งให้ผู้ที่จะรดน้ำอวยพร โดยเริ่มจากพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว หรือญาติผู้ใหญ่ ตามลำดับ นิยมรดใส่ในมือให้เจ้าสาวก่อน แล้วจึงรดให้เจ้าบ่าว และกล่าวอวยพรให้คู่บ่าวสาวประสบความสุขความเจริญ อยู่ด้วนกันจนแก่เฒ่าถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง ขณะรดน้ำสังข์ พระสงฆ์จะสวดชยันโต เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว แต่ในปัจจุบัน นิยมทำพิธีรดน้ำกันตอนเย็น ก่อนเวลากินเลี้ยงฉลองสมรส ซึ่งมักจะจัดที่โรงแรม หรือหอประชุม หากจะให้มีพระสวดชยันโตในเวลารดน้ำต้องนิมนต์พระมาด้วย

          มีเคล็ดลางเกี่ยวกับพิธีรดน้ำสังข์ คือหลังจากพิธีรดน้ำสังข์เสร็จแล้ว หากฝ่ายใดลุกขึ้นยืนก่อน ฝ่ายนั้นจะได้เป็นผู้ที่อยู่เหนือคู่ครองของตน เช่น เจ้าสาวลุกขึ้นก่อน สามีจะกลัว หากถือมากเกินไปคงจะวุ่นวายน่าดูเลย หลังจากเสร็จพิธีรดน้ำต่างตนต่างรีบลุก ควรช่วยกันประคองกันแบบนี้จะดีกว่า แถมดูแล้วน่าประทับใจ

           สมัยโบราณ ในพิธีการแต่งงานจะไม่มีการรดน้ำสังข์ แต่จะมีพิธีซัดน้ำ พระสงฆ์จะเป็นผู้ทำพิธี โดยตักน้ำมนต์ในบาตรซัดสาดใส่คู่บ่าวสาว บรรดาเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งมีอยู่หลายคู่ แกล้งนั่งห้อมล้อมให้คู่บ่าวสาวนั่งเบียดกันชิดกัน การซัดน้ำนี้บางทีซัดจนเปียกปอนต้องเปลี่ยนชุดหลังเสร็จพิธี แบบนี้ก็น่าสนุกไปอีกแบบ

การกินเลี้ยงฉลองพิธีมงคลสมรส
          เมื่อเสร็จพิธีหลั่งน้ำสังข์ หรือพิธีซัดน้ำแล้ว จะมีการเลี้ยงอาหารแขกผู้มาร่วมงาน อาจมีดนตรีประกอบเพื่อความสนุกสนาน ครื้นเครง โฆษกจะกล่าวเชิญให้พ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าว และเจ้าสาว รวมทั้งคู่บ่าวสาวกล่าวขอบคุณแขก

           ในช่วงนี้อาจมการหยอกล้อ คู่บ่าวสาว เช่นเจ้าสาวเป็นฝ่ายหอมแก้มเจ้าบ่าว ร้องเพลงคู่กัน และอื่นๆ ซึ่งควรทำอย่างหอมปากหอมคอ เพราะทั้งคู่ต่าง เหน็ดเหนื่อย กับงานมาทั้งวัน หรืออาจจะไม่ค่อยได้พักผ่อน ในช่วงที่เตรียมงาน โฆษกจะบอกกล่าวถึง ความเป็นมาว่าเจ้าบ่าว เจ้าสาวพบกัน ครั้งแรกเมื่อไร ความรักเริ่มผลิดอกเบ่งบานไปอย่างไร ซึ่งบางทีก็พูดเกินจริง เพื่อความสนุกสนาน เป็นการหยอกล้อคู่บ่าวสาว หลังจากนั้นเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเดินไปขอบคุณแขกตามโต๊ะ ต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งแจกของชำร่วย เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก

           ถ้ามีการกินเลี้ยงในตอนเย็น เจ้าสาวมักเปลี่ยนจากชุดไทยเป็นชุดราตรียาว หรือที่เรียกกันว่า "ชุดเจ้าสาว" ในงานเจ้าสาว จะดูโดดเด่นและสวยกว่าใครๆ แขกที่มางานจึงไม่ควรที่จะแต่งตัวให้เด่นแข่งกับคู่บ่าวสาว โดยเฉพาะแขกผู้หญิงไม่ควรใส่ชุดขาว แข่งกับเจ้าสาวเป็นมารยาทที่ไม่เหมาะสม   เมื่อมาถึงสถานที่จัดเลี้ยง คู่บ่าวสาว หรือผู้ทำหน้าที่ต้อนรับจะพาไปลงชื่อในสมุดอวยพร หากนำของขวัญ หรือต้องการให้ ซองช่วยงานก็มอบให้ตอนนี้ เพราะจะมีคนทำหน้าที่ลงบัญชีโดยเฉพาะ แต่บางคนก็จะเก็บไว้เพื่อให้ กับคู่บ่าวสาว กับมือเองตอนที่ นำของชำร่วยไปแจกที่โต๊ะตอนกินเลี้ยง

พิธีการปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว
            พิธีการส่งตัวมักทำกันตอนกลางคืน ถ้าหากมีการเลี้ยงฉลองสมรสตอนกลางคืน จะต้องมีการเลิกก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเล็กน้อย เพื่อคู่บ่าวสาวจะได้มีเวลาเตรียมตัว พ่อแม่ของฝ่ายเจ้าสาวจะจะเชิญผู้มีเกียรติ ซึ่งเป็นคู่สามีภรรยาอาวุโส ให้ทำพิธีปูที่นอนในห้อง หรือเรือนหอ ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องเป็นคู่สามีภรรยาที่แต่งงานอยู่กินกันมาจนแก่เฒ่า มีฐานะดีและมีลูกหลานที่เลี้ยงง่ายและลูกๆ ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน 

           การทำพิธีปูที่นอน ในปัจจุบันทำพอเป็นพิธี เพราะว่าได้มีการจัดเตรียมไว้ก่อนวันแต่งไว้เรียบร้อยแล้ว ครั้นพอได้ฤกษ์ผู้ทำพิธีก็จัดแจง ปูที่นอน จัดหมอนผ้าห่มกางมุ้ง พอถึงฤกษ์เรียงหมอน ผู้ทำพิธีฝ่ายชายก็ล้มตัวนอนทางด้านขวา ผ่ายหญิงนอนทางซ้าย เป็นการนอน เอาเคล็ด

            สิ่งของอันเป็นมงคลที่ใช้ในพิธีปูที่นอน มีอยู่หลายตำรา เช่น ใช้หินบดยา ฟักเขียว แมวตัวผู้สีขาว ซึ่งทาแป้งและของหอมไว้ทั้งตัว รวมทั้งถั่วทอง งาเมล็ด ข้าวเปลือก อย่างละหยิบมือห่อผ้าไว้ในพาน ผู้ทำพิธีปูที่นอนจะหยิบของเหล่านี้วางบนที่นอนพร้อมกับแมว และกล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคล แล้วนอนลงพอเป็นพิธี แล้วจึงลุกขึ้น สิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีน่าจะมาจากคติคำอวยพรที่ว่า "ขอให้เย็นเหมือนฝัก หนักเหมือนแฟง ให้อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า ให้เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว"

           ก้อนเส้า คือหินเตาไฟสำหรับหุงต้มในสมัยโบราณ แต่เห็นว่ามีคราบเขม่าสีดำสกปรกง่าย จึงเปลี่ยนเป็นหินบดยาแทน ส่วนแมวนั้น ถือกันว่าเป็นสัตว์ที่เชื่องเหมือนกับผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมา และถือเป็นสัตว์มงคล แมวคราว คือ แมวตัวผู้ที่มีอายุมาก มักนอนอยู่กับเรือนไม่ค่อยออกไปเที่ยวไหนๆ บางทีมีการนำกลีบดอกไม้ เช่นดอกกุหลาบ กลีบบานไม่รู้โรย หรือกลีบบัวมาโรย ไว้บนเตียงนอนให้คู่บ่าวสาวด้วย

การส่งตัวเจ้าสาว
         เมื่อผู้ทำหน้าที่ปูที่นอนลุกขึ้นแล้ว โดยทำเป็นเพิ่งตื่นนอน ฝ่ายหญิงจะพูดในสิ่งอันเป็นมงคล เช่น ฝันว่าอย่างโน้น อย่างนี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีงาม ฝ่ายชายก็จะทำนายทายทักปลอบขวัญ ต่อจากนั้น จึงพากันลุกออกไป

          เฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่าย จึงให้คู่บ่าวสาวไปยังที่นอน พ่อแม่ของฝ่ายหญิงนำเจ้าสาวมาส่งให้เจ้าบ่าว พร้อมทั้งกล่าวฝากฝังให้ช่วยดูแล บอกว่าเจ้าสาวยังเล็กไม่รู้เรื่องการเรือนเท่าไรนัก หากมีสิ่งใดบกพร่อง ขอให้เจ้าบ่าวคอยว่ากล่าวตักเตือน อย่าให้ถึงกับดุด่าจนมีปากเสียง ให้เจ้าบ่าวรักใคร่เอ็นดู เหมือนน้องสาว ช่วยปกป้องคุ้มครองและให้การเลี้ยงดู อย่าได้ทอดทิ้ง ฯลฯ ฝ่ายเจ้าบ่าวก็รับคำเป็นอันดี

            จากนั้น พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย ก็อบรมคู่บ่าวสาว ให้รู้จักหน้าที่ของสามีภรรยาที่ดีซึ่งต่อไปจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน แล้วให้คู่บ่าวสาวนอนลงที่นอน โดยเจ้าบ่าวนอนด้านขวา และเจ้าสาวนอนด้านซ้าย บางทีก่อนนอนก็ให้เจ้าสาวกราบบอกสามีก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะถือว่าสามีเป็นผู้ให้ความดูแลคุ้มครอง  เหตุที่เจ้าบ่าวนอนด้านขวา เพราะอยู่ใกล้ประตู หากมีเหตุอันตราย สามีจะสามารถคุ้มครองปกป้องภริยาของตนได้ เพราะถือว่า ผู้ชายมีความแข็งแรงกว่าหญิง ควรทำหน้าที่ดูแลปกป้อง
ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจาก :  http://women.sanook.com/wedding/plan/plan_46488.php

 

การแทรกโพนช้าง

|0 comments
การแทรกโพนช้าง
 


การโพนช้าง
การจับ ช้างป่านั้นมีอยู่หลายวิธี แต่เป็นวิธีคล้องช้างที่ชาวกวยบ้านตากลางสืบทอดมาแต่โบราณ โดยผู้ที่จะร่วมคณะหมอช้างออกคล้องช้างป่าด้นั้นจะต้องได้รับการประชิเป็น หมอช้างก่อน การคล้องช้างแบบนี้เป็นวิธีจับช้างป่าที่เสี่ยงอันตรายเป็นอย่างมาก แต่ทั้ง ๆ ที่อันตรายชาวตากลางก็ยอมเสี่ยง เพราะถือว่าที่สุดของคนเลี้ยงช้างก็คือ การได้ประชิเป็นหมอและมีโอกาสติดตามคณะหมอช้างออกไปคล้องช้างป่าหรือถ้าไม่ ได้ประชิเป็นหมอ หากได้ติดตามออกไปคล้องช้างป่าในฐานะมะเด็กท้ายช้างของหมอช้างก็ถือว่าไม่ เสียทีที่เกิดมาเป้นคนเลี้ยงช้างแห่งบ้านตากลาง

อุปกรณ์ในการโพนช้าง
ใน การออกคล้องช้างแต่ละครั้งนั้น ชาวกวยต้องเตรียมอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้มากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับการคล้องช้างและการยังชีพ ซึ่งประกอบด้วย
- หนังประกรรม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เชือกบาศก์ ทำมาจากหนังกระบือสามเส้นนำมาฟั่นเป็นเกลียว
- ไม้คันจาม เป็นไม้ยาวที่ใช้เสียบต่อเข้ากับแขนนางซึ่งติดอยู่กับเชือกประกรรม ไม้คันจามนี้ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่รวก
- ทาม คืออุปกรณ์ที่ใช้ผูกคอช้างป่าที่คล้องได้ โดยทามนี้จะทำจากหนังกระบือเช่นเดียวกับหนังประกรรม
- สายโยง คืออุปกรณ์ที่ใช้ผูกช้างป่ากับต้นไม้หรือกับช้างต่อ โดยแยกเป็นสายโยงที่ผูกช้างป่ากับต้นไม้เรียกว่า “โยงละ” ส่วนสายโยงที่ใช้จูงช้างขณะเดินทางเรียกว่า “สายโยงเตอะ”
- สะลก คือเชือกที่ใช้ผูกคอช้างต่อทำจากหนังกระบือ
- โทน คือโครงทำด้วยไม้ใช้เก็บหนังประกรรมขณะเดินทางเข้ป่า รวมของใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นในการออกไปคล้องช้างป่า โทนทำด้วยไม้มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม
- สายประโคน ทำด้วยหวายใช้ยึดโทนให้ติดกับหลังช้าง
- หางกระแชง เป็นสายหนังหรือเป็นเชือกที่ใช้ผูกโทนกับสายประโคน
- แผนกนำ ทำจากหนังกระบือ แผนกนำนี้ใช้ผูกกับสายประโคนดึงไปทางท้ายช้างให้มะจับยึดเวลาช้างวิ่งจะได้ไม่ตก
- สายชะนัก ใช้สวมที่คอช้างสำหรับหมอช้างคีบเวลาขี่ช้างต่อไล่ช้างป่าจะได้ไม่พลัดตก
- ไม้งก เป็นไม้สำหรับตีท้ายช้างขณะไล่คล้องช้างป่าเพื่อเร่งความเร็วของช้างต่อ ไม้งกทำจากไม้เนื้อแข็งรูปร่างกลมแบนโค้งงอคล้ายตัวแอล
- สะแนงเกล (สะไน) เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณด้วยเสียงทำด้วยเขาควายใช้เป่าเมื่อเคลื่อนขบวนช้างต่อทั้งขาไปและขากลับ
- สนับมุก คือถุงใส่ของใช้ส่วนตัวของหมอหรือมะ สนับมุกถักด้วยปอ หรือป่าน
- เขาวัว ทำจากหวายสองเส้นถักเป็นวงกลม มัดไว้ที่หัวและท้ายโทนเขาวัวใช้สอดเก็บถุง
- ข้าวสารและของใช้อื่น ๆ
- หนังลิว เป็น เชือกหนังกระบือเส้นเล็ก ๆ จะทำไว้ยาวมากจนต้องขดเป็นวงมัดเก็บไว้ เชือกลิวนี้ใช้ผูกมัดห่วงทามเข้าด้วยกันหรือมัดสายโยงกับกาหรั่น มัดสะลกที่คอช้างต่อและอย่างอื่น ๆ โดยตัดออกไปตามความยาวที่ต้องการ
- กระตาซอง เป็นภาชนะใส่สัมภาระพวกมีดพร้าทำด้วยหวายลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงกระบอก
- สะยาว เป็นถุงใส่สัมภาระถักด้วยปอหรือป่านมีลักษณะเป็นถุงทรงยาว
- บังพริก เป็นกระบอกใส่เกลือทำจากไม้ไผ่ โดยทำเดือยสวมเข้าหากัน
- อาห์ตุงเหดะ เป็นกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ทะลุปล้องกลางออกให้ถึงกันเหลือเพียงปล้องหัวท้าย ส่วนหัวคว้านออกใช้ใส่น้ำใช้สอยขณะออกคล้องช้างในป่า
- กระเบอะตรวจ เป็นจานใช้ใส่ข้าวลักษณะคล้ายพานสาน ขึ้นมาจากไม้ไผ่
- กระไทครู เป็นผ้าคาดเอวสำหรับหมอช้างภายในมีเครื่องรางของขลัง
- โปรเดียง เป็นไม้เนื้อแข็งทำเป็นรูปเขาควายคู่ ใช้ป้องกันเชือกบิดเกลียว
- ขอลอง ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาดและรูปทรงคล้ายเขาควายใช้ถักซ่อมแซมเชือกหนัง คล้ายลิ่มช่วยงัดสายที่แข็ง แทนมือ
- พนธุง เป็นถุงถักด้วยปอหรือป่าน ปากกว้างมีหูรูด หมอช้างใช้ใส่ยาสูบ กระปุกปูนหรือของใช้ส่วนตัว

ฤดูโพนช้าง
ในปีหนึ่งบรรดาหมอช้างจะยกขบวนออกไปคล้องช้างป่ากันหลายคณะ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม ยกเว้นช่วงฤดูแล้ง ซึ่งน้ำหายากช้างป่าไม่ออกมาที่ทุ่งราบ โดยแต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 4 – 5 เดือนหรือมากกว่าไม่แน่นอนแล้วแต่ว่าจะได้ช้างพอแล้วหรือข้าวสารจะหมดเมื่อ ใด
แต่ ก่อนที่คณะหมอช้างจะออกเดินทางไปคล้องช้างป่า กรรมหลวงหรือครูบาใหญ่จะเรียกหมอช้างอันดับรอง ๆ ทั้งหมอสดำ หมอเสดียง หมอจา ที่เคยออกโพนช้างด้วยกันไปปรึกษาหารือที่บ้านกรมหลวง ว่าจะไปคล้องช้างที่ป่าไหน หลังจากนั้นกรมหลวงก็จะบอกให้หมอช้างคนหนึ่งไปปรึกษาหมอดู เพื่อดูฤกษ์ยามว่าจะไปในวันใดจึงจะมีโชคจับช้างได้มาก ส่วนช้างต่อ หมอช้างคนใดที่ยังไม่มี ก็อาจจะขอยืมจากญาติ และช้างต่อที่ ดีนั้นต้องมีรูปร่างแข็งแรงใหญ่โต มีนิสัยกล้าหาญไม่กลัวช้างป่า วิ่งได้รวดเร็ว ยิ่งช้างต่อที่เคยมีประสบการณ์มาแล้วยิ่งดี และจะเป็นช้างพลายช้างสีดอ หรือช้างพังก็ได้
พิธีเซ่นหนังประกรรมและเสี่ยงทายกระดูกคางไก่
เมื่อถึงวันนัดหมายบรรดาผู้ที่ร่วมขบวนออกไปคล้องช้างทุกคนทั้งหมอช้างและมะจะจัดเตรียมของเซ่นผีประกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย
• ไก่ต้มหนึ่งตัว
• เหล้าขาวหนึ่งขวด
• เทียนไขหนึ่งคู่
• ขันธ์ 5 (กรวยใบตองใส่ดอกไม้ห้ากรวย)
• บุหรี่สองมวน
• หมากสองคำ
• สำหรับกับข้าว 1 ชุด
• ด้ายดำแดง
• โสร่ง
• ขมิ้น
• เงิน 12 บาท
เมื่อ ได้เวลาทั้งหมอกับมะ ก็จะจัดนำของไหว้ไปที่ศาลประกรรมของตนเองจุดเทียน และยกของที่เตรียมไว้เซ่นหนังประกรรม จากนั้น มะก็จะเอาช้างต่อมาเทียบศาลปะกรรม แล้วหมอก็จะเอาเปลือกกระโดนและแผ่นหนังปูบนหลังช้างส่งให้มะ แผ่นกระโดนและแผ่นหนังนี้จะช่วยป้องกันหลังไม่ให้แตกจากการกดทับของสัมภาระ จากนั้นหมอก็จะเอาโทนขึ้นตั้ง ผูกรัดตีนโทนข้างหนึ่งอ้อมใต้ท้องช้างมามัดกับตีนโทนอีกข้างหนึ่ง จนมั่นคงเสร็จแล้ว หมอก็จะกล่าวอัญเชิญหนังปะกำ หลังจากนั้น หมอก็จัดส่งหนังประกรรมให้มะวางบนโทน ตามด้วยอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นทามและหนังเรียว ไม้คันจาม ฯลฯ  เมื่อเตรียมข้าวของพร้อมแล้วหมอและมะก็จะสั่งเสียบุตรภรรยา ให้ยึดมั่นในข้อปฏิบัติที่คนทางบ้านต้องถือให้ครบ เพื่อความปลอดภัยขณะออกป่าไปโพนช้าง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายข้อเช่น
- ห้ามปัดกวาดที่นอน บ้านเรือน ถ้ามีเศษผงให้หยิบจับไปใส่ตะกร้าทิ้งให้ไกลบ้าน
- ห้ามขึ้นนั่งนอนบนที่นอน
- ห้านรับแขกบนเรือน
- ห้ามทิ้งของจากบนบ้านลงพื้นดิน
- ห้ามคนนอกครอบครัวค้างคืนที่บ้าน
- ห้ามภรรยาแต่งตัว แต่งหน้า หวีผม ตัดผมหรือร้องรำทำเพลง
- ห้ามนั่งบนขั้นบันไดบ้าน
- ห้ามแขกมาค้างบ้าน
- ห้ามชักฟืนออกจากเตา ขณะประกอบอาหาร ฯลฯ
เสร็จ แล้วหมอกับมะก็จะขี่ช้างต่อมุ่งหน้าสู่ป่า ที่เป็นสถานที่ตั้งศูนย์คชศึกษา โดยหมอช้างจะนั่งอยู่ที่ท้ายช้างถัดจากโทน และเนื่องจากการออกไปคล้องช้างป่ามีข้อห้ามหลายข้อ โดยเฉพาะคนที่จะไปคล้องช้างป่าได้จะต้องเป็นหมอช้างเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะเดินทางใครที่ยังไม่เคยออกคล้องช้างคือไม่เคยปะชิหมอเป็นหมอ ช้างมาก่อน กรรมหลวงหรือครูบาใหญ่หัวหน้าคณะโพนช้างก็จะทำพิธีปะชิให้
พิธีประชิหมอ
คือ พิธีแต่งตั้งหมอใหม่ ซึ่งเป็นการแต่งตั้งควาญช้าง หรือมะที่ไม่เคยออกโพนช้างหรือเคยแต่อยู่ในตำแหน่งของมะ คือ “ท้ายช้าง” ขึ้นเป็นหมอใหม่ การประชิหมอนี้กรมหลวง จะเป็นผู้ประกอบพิธีที่จัดสร้างขึ้นง่าย ๆ เสร็จแล้วกรมหลวงก็จะซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับกฏกติกาข้อปฏิบัติตนรวมถึงข้อห้ามต่าง ๆ ที่ต้องยึดถือตลอดระยะเวลา ที่ออกเดินทางไปคล้องช้างป่าให้ทราบโดยทั่วกัน ข้อห้ามต่าง ๆ ได้แก่ห้ามสูบบุหรี่บนหลังช้าง ห้ามสูบบุหรี่ในที่พักช้าง ห้างกินตับและไขมันต่าง ๆ ยกเว้นหมอช้างที่อยู่ขวาของกอง คือ หมอสะดำ นอกจากนี้ ห้ามพูดภาษาอื่นให้พูดเฉพาะภาษาผี
ลำดับหมอช้าง
- กรรมหลวง (ครูบาใหญ่) เป็นหมอช้างอันดับสูงสุด โดยในแต่ละพื้นที่จะมีเพียงคนเดียว ถือเป็นเจ้าเถื่อนสามารถประกอบพิธีทุกอย่างในนามของพระครูได้
- ครูบา คือหมอช้างในตำแหน่งสะดำที่ได้รับแต่งตั้งจากครูบาใหญ่หรือกรรมหลวงให้เป็น
หัวหน้ากองขบวนช้างต่อ
- หมอสะดำ เป็นหมอเบื้องขวา จับช้างป่าได้ตั้งแต่ 6 – 10 ตัว และได้รับการแต่งตั้ง
- หมอสะเดียง เป็นหมอเบื้องซ้าย จับช้างป่าได้ตั้งแต่ 1 – 5 ตัว และได้รับการแต่งตั้ง
- หมอจา คือหมอใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่ยังจับช้างไม่ได้เลย
- มะ คือ ผู้ช่วยหมอช้างจะนั่งอยู่ตอนท้ายของช้างต่อทุกเชือก
ภาษาผี
กฏกติกาในการออกไปโพนช้างของชาวกวยมีอยู่มากมายที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่ง ครัด และที่น่าสนใจก็คือการกำหนดให้ทุกคนที่ติดตามคณะหมอช้างออกไปคล้องช้างพูด กันด้วยภาษาที่ปกติจะไม่พูดกันซึ่งเรียกว่า “ภาษาผี” ภาษาผีเป็นภาษารหัสที่เข้าใจกันในหมู่พวกกวยคล้องช้าง ภาษาผีที่น่าสนใจเช่น “ฮ่องจาว” แปลว่า ลำห้วย “กำพวด” แปลว่า กองไฟ “ใจดี”  แปลว่า พริก “จังวา” แปลว่า ปลาต่าง ๆ  “อ้วน”  แปลว่า น้ำเป็นต้น
ระเบียบในการโพนช้าง
นอก จากการใช้ภาษาผีแล้ว ผู้ร่วมขบวนคล้องช้างต้องเซ่นหนังประกรรม ก่อนรับประทานอาหารทั้งเช้าและเย็นทุกวัน ขณะหยุดพักช้างที่ใดต้องยกหนังประกรรมลงวางใกล้หมอสะดำห้ามข้ามหนังประกรรม ห้ามร้องรำทำเพลงหรือทะเลาะวิวาทกันตลอดการเดินทาง ห้ามช้างต่ออื่นเดินนำครูบาใหญ่โดยทั้งหมดต้องเดินเรียงกันตามลำดับชั้นของ หมอ  ขณะเข้าคล้องช้างป่าทุกคนก็ห้ามใส่เสื้อผ้านุงกางเกงใด ๆ ยกเว้นผ้าโจงกระเบน และเมื่อออกเดินทางไปจับช้างป่าห้ามทุกคนเรียกชื่อเดิมกัน แต่ให้เรียกตำแหน่งตามด้วยชื่อช้างต่อ เป็นต้น กฏระเบียบทั้งหลายนี้กรรมหลวงจะประชุมชี้แจงจนเข้าใจ ก่อนจะยกขบวนเดินทางจากหมู่บ้านเข้าสู่ป่าใหญ่อันเป็นที่อยู่ของช้างป่า
เส้นทางโพนช้าง
เดิมที ในสมัยที่ป่าดงในภาคอีสานยังอุดมสมบูรณ์ และทางราชการยังอนุญาตให้จับช้างป่า เส้นทางการคล้องช้างของชาวตากลางจะอยู่ไม่ไกลนัก แต่ต่อมาภายหลังจากการสูญเสียพื้นที่ป่าจำนวนมหาศาล ทำให้ปริมาณช้างป่าลดลงเส้นทางของขบวนคล้องช้าง จึงมุ่งลงทางใต้และทางตะวันออก โดยใช้เส้นทางผ่านช่องเขาพนมดงรัก ผ่านไปในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เข้าสู่ป่าในเขตประเทศกัมพูชา แล้วลัดเลาะติดตามหาโขลงช้างป่า ไปในทางตะวันออกเรื่อยไปจนถึงแขวงจำปาศักดิ์
ขบวนช้างต่อ
เสียง เป่าเสนงเกล (แตรที่ทำจากเขาควาย) ดังไปทั่วหมู่บ้านในละแวกใกล้เคียงเพื่อบอกกล่าวผู้เป็นญาติมิตร ตลอดจนบุตรธิดาและภรรยา ให้ได้ทราบว่าการเดินทางที่ยาวนานและเต็มไปด้วยอันตรายของผู้เป็นที่รักได้ เริ่มต้นขึ้นแล้ว พวกเขาจะกลับมาหรือไม่ ถ้ากลับจะกลับมาเมื่อไร ในสภาพอย่างไร นี่คือคำถามในใจของทุกคน แต่สิ่งเดียวที่คนอยู่ทางบ้านจะกระทำได้ ดี่ที่สุดเพื่อแสดงความรักความเป็นห่วงต่อสมาชิกที่ร่วมขบวนโพนช้าง ก็คือ การรักษาคำมั่นสัญญาต่อประกรรม นับแต่นี้ไปทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อห้ามทุกข้ออย่างเคร่งครัดที่สุด ขบวนช้างต่อนำโดยกองช้างของกรรมหลวงซึ่งเป็นกองที่อนุโลมให้กำหลวงอยู่ใน ตำแหน่ง สะดำติดตามด้วยกองที่เหลือ โดยทุกกองจะเดินกันตามมาลำดับชั้น ทั้งหมดจะรอนแรมมุ่งสู่ถิ่นช้างป่า ถึงเวลาหยุดพักก็จะพักกันเป็นชมรม แต่ละชมรมจะอยู่ใกล้ ๆ กันตามที่แบ่งไว้
พิธีเบิกไพร
เมื่อ เดินทางถึงป่าที่จะคล้องช้าง กรรมหลวงจะสั่งให้ยกศาลขึ้นเพื่อเซ่นบวงสรวงเจ้าป่าแล้วให้หมอสะดำ 3- 4 คนไปล่าสัตว์มาเป็นเครื่องเซ่น หลังจากนั้นกรรมหลวงกับหมอช้างและมะทั้งหมด ต้องจัดหาบุหรี่ 2 มวน เทียน 2 เล่ม กรวยใส่หมากพลู 2 กรวย แล้วจึงนำไม้คัยจามและเชือกผูกไม้ตีท้ายช้างของมะกับของเซ่นไหว้ทั้งหมดขึ้น ไว้บนศาล พวกหมอและมะทั้งหมดจะยืนอยู่หน้าศาลเพียงตา แล้วกรรมหลวงก็จุดเทียนบูชากล่าวชื่อป่า ที่จะทำการคล้องช้างและป่าที่มีบริเวณติดต่อกันเป็นภาษาเขมร
วิธีโพนช้าง
หลัง จากพิธีเบิกไพร คณะคล้องช้างก็เคลื่อนขบวนออกสังเกตรอยช้างป่าว่าในป่านั้นมีช้างอยู่หรือ ไม่ ถ้าพบร่องรอยมีมาก กรรมหลวงจะสั่งให้หยุดพักแล้วกรรมหลวงก็จะส่งหมอเสดียงกับหมอจาออกแกะรอย ช้างป่าที่เห็น เพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนของโขลงช้างป่า ถ้าติดตามหาไม่พบ แสดงว่าช้างป่าได้เคลื่อนย้ายไปยังป่าอื่นแล้ว ก็จะยกขบวนออกติดตามหาร่องรอยช้างป่าในป่าอื่นต่อไป แต่ถ้าติดตามไปพบช้าง ก็ให้ขึ้นต้นไม้สังเกตดูว่า มีลูกช้างมากน้อยแค่ไหน แล้วกลับมารายงานกรรมหลวง เมื่อกรรมหลวงพิจารณาแล้ว หากเห็นว่าคล้องได้ ก็จะสั่งให้ทุกคนเอาโทนและเสบียงลงจากหลังช้าง เหลือไว้อุปกรณ์ในการคล้องช้าง เมื่อจัดช้างต่อทุกเชือกแล้ว กรรมหลวงก็ชักช้างต่อ นำขบวนเข้าหาโขลงช้างป่า จนใกล้พอที่จะได้ยินเสียงช้างป่าหากิน แล้วจึงสั่งแกช้าง กระจายกองเข้าล้อมโขลงช้างป่าเป็นวงกลม ทั้ง 4 ทิศแล้วหมอช้างทั้งหมด ก็ไสช้างเข้ากลางวง โขลงช้างป่าได้ยินเสียงช้างต่อก็แตกตื่นพยายามหนีออกจากวงล้อม ตัวไหนวิ่งไปทางหมอคนไหนหมอคนนั้นคะเนดูเห็นว่าขนาดพอจะคล้องได้ลักษณะสวย งาม ก็จะไสช้างเข้าปะกบ มะก็จะช่วยตีท้ายช้างต่อ ให้เร่งฝีเท้าตามไปจนทัน เมื่อได้ระยะหมอช้างซึ่งนั่งอยู่ที่คอช้าง ก็จะยื่นไม้คันจามที่ติดกับเชือกบาศก์วางดักที่หน้าเท้าหลังของช้างป่า หากเชือกบาศก์คล้องติดขาช้างป่าแล้วหมอช้างก็จะกระตุกให้รัดข้อเท้า แขนนางที่เป็นส่วนหนึ่งของเชือกบาศก์ ที่เป็นรูเสียบไม้คันจามก็จะหลุดจากปลายไม้คันจาม  ช้างป่าก็จะลากเชือกประกรรมไป ขณะที่หมอช้างจะทิ้งไม้คันจามและกองหนังประกรรมจากหลังช้าง ต่อจากนั้นช้างต่อกับช้างป่า ก็จะปะลองกำลังดึงกันไปมา เพราะปลายข้างหนึ่งของเชือกบาศก์หรือเชือกประกรรมนี้จะผูกไว้กับคอช้างต่อ ช้างต่อจะดึงจนช้างป่าอ่อนแรงหมอช้างก็จะไสช้างต่อเข้าหาต้นไม้ใหญ่ วนช้างรอบต้นไม้สามรอบแล้วให้มะลงจากช้าง แล้วมัดปลายเชือกประกรรมไว้กับต้นไม้ ช้างต่อของใครที่คล้องช้างลูกคอได้ ก็จะต้องทำการเซ่นหนังประกรรมของตนพิเศษ




พิธีปะสะ
ใน ระหว่างที่เข้าประกรรมหรือในระหว่างออกโพนช้างนี้ หากปรากฏว่าใครในคณะคล้องช้าง เกิดทำผิดข้อห้ามข้อใดข้อหนึ่ง หรือคล้องช้างได้ลักษณะต้องห้าม จะต้องเข้าพิธีปะสะ ซึ่งเป้นพิธีชำระโทษปัดเสนียดจัญไรให้กับคนผู้คล้อง ในส่วนพิธีปะสะที่มีสาเหตุมาจากคล้องช้างโทษได้นี้ จะต้องจัดขึ้นภายใน 7 วัน หลังเกิดเหตุ โดยกรรมหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีให้ แต่สำหรับการปะสะให้คนที่ฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับการโพนช้างนั้น กรรมหลวงจะนำผู้ฝ่าฝืนนั้นไปปัดเป่าและล้างบาปในแม่น้ำลำคลอง เมื่อปัดเป่าเสร็จแล้วก็สั่งให้ผู้นั้นดำน้ำ 1 ผุด ก็จบพิธีล้างบาปถือว่าผั้นสะอาดแล้ว สามารถกลับเข้าขบวนโพนช้างได้ดังเดิม
การลาประกรรม
เมื่อ กรรมหลวงเห็นว่าขบวนโพนช้างจับช้างได้มากพอสมควร และข้าวสารก็เหลือน้อยแล้วก็จะปรึกษากับคณะทั้งหมด สั่งให้ยกขบวนกลับหมู่บ้าน เมื่อกลับมาถึงบริเวณป่าใกล้บ้าน กรรมหลวงก็จะสั่งให้ช้างต่อที่นำช้างลูกคอมาด้วย นำไปผูกไว้ตามต้นไม้หนึ่งเชือกต่อหนึ่งต้น ส่วนช้างที่ไม่มีช้างลูกคอก็ให้พักช้างนำข้างของเครื่องใช้ลงจากหลังช้าง ส่วนเชือกประกรรมนั้นให้นำมาไว้รวมกัน เมื่อช้างต่อทั้งหมดทั้งมะและหมออันดับต่าง ๆ มาพร้อมกันแล้ว กรรมหลวงก็นั่งยอง ๆ หันหน้าไปทางกองหนังประกรรมของหมอจา ส่วนทั้งมะและหมอทุกคนจะถือเทียนที่จุดแล้วคนละเล่มนั่งยอง ๆ อยู่ข้างหลัง เมื่อส่งเทียนเหล่านี้ให้กับกรรมหลวงทุกคนแล้วก็กล่าวคำลาผีประกำ เมื่อกล่าวคำลาผีประกรรมเสร็จแล้ว กรรมหลวงก็จะให้มะแก้เชือกที่ผูกไม้ตีท้ายช้าง ออกจากเอวส่งให้กรรมหลวง กรรมหลวงจะดึงเอาเชือกมาเผาไฟแล้วส่งคืนให้มะ จนหมดทุกคน เป็นอันเสร็จพิธีลาผีประกรรม จากนี้ไปทุกคนก็จะประพฤติตนตามปกติได้
การเซ่นประกรรมและการแบ่งส่วนช้าง
หมอ และมะจะจัดแจงขนหนังประกรมและข้าวของขึ้นช้างต่อ แล้วนำช้างลูกคอของตนกลับสู่หมู่บ้าน เมื่อเข้าไปใกล้หมู่บ้านของใคร หมอช้างก็จะขี่ช้างต่อนำช้างลูกคอไปผูกไว้กับต้นไม้ ปล่อยช้างลูกคอไว้ที่นั่น ส่วนหมอก็ขี่ช้างต่อกลับเข้าหมู่บ้าน แล้วจึงนำหนังประกรรมลงจากหลังช้างต่อไป เก็บไว้บนศาลตามเดิม หลังจากที่จับช้างได้ก็จะทำการแก้บนตามที่บนบานเอาไว้ ส่วนรายละเอียดการแบ่งกรรมสิทธิช้างลูกคอนั้น ชาวกวยมีกติกาว่าเจ้าของช้างต่อจะได้สิทธิ 2 ส่วนครึ่ง ผู้เป็นหมอได้ 2 ส่วน และมะได้  1 ส่วนครึ่ง รวมแล้วช้างลูกคอ 1 เชือก จะแบ่งเป็น 6 ส่วน แต่สำหรับช้างต่อที่ขอยืมคนอื่นมานั้น จะต้องผลัดเปลี่ยนกันเลี้ยงดูคนละเดือนไป จนกว่าจะขายได้แล้ว จึงแบ่งส่วนกันตามกติกาตามที่กล่าวมา แต่ในกรณีที่หมอช้างยืมช้างต่อผู้อื่นไปแล้ว เกิดล้มตายไประหว่างทางหรือจับช้างป่าไม่ได้นั้น ชาวกวยวางกติกาไว้ให้ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

โดย  นายอิทธิพันธ์ ขาวละมัย
ที่มา: วิชาการ.คอม: www.vcharkarn.com
 

พิธีไหว้ครูโขน ละครและพิธีครอบครู ตามแบบแผนปฏิบัติของครูอาคม สายาคม

|0 comments
 

พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู ต่างกับพิธีไหว้ครูทั่วไป เป็นพิธีการยกย่องและอนุรักษ์ไว้เพราะครูเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ความเฉลียวฉลาดในด้านศิลปวิทยาแก่ศิษย์ ครูจึงเป็นผู้ควรแก่การคารวะบูชา พิธี ไหว้ครูได้ถูกกำหนดระเบียบและบัญญัติวิธีไว้ให้ปฏิบัติกันมาด้วยหลักเกณฑ์ อันดี เพื่อก่อให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้เรียน
              พิธีการไหว้ครูโขนและละครในปัจจุบันส่วนใหญ่ดำเนินตามแบบแผนที่สืบทอดมาแต่ โบราณก็แต่บางส่วน แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมจุดประสงค์ในบางส่วนก็เพื่อการสร้างศรัทธายิ่งขึ้น
              จากการสันนิษฐานของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่าการฟ้อนรำของไทยนั้นมีที่มาเป็น ๒ ทาง ทางที่ ๑ เกิดจากการที่มนุษย์ดัดแปลงการร่ายรำจากธรรมชาติ จนเป็นศิลปะที่สืบทอด กันมา ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองต่าง ๆ อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย ซึ่งบูชาเทพเจ้า
              ดังนั้นศิษย์นาฏศิลป์โขน ละคร จึงถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นประเพณี คือ ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์ โขน ละคร จะต้องจัดพิธีไหว้ครูขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑. เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครู
๑.๑ ทำพิธีอัญเชิญครูมาในพิธี เพื่อให้ศิษย์กราบไหว้เป็นศิริมงคล
๑.๒ ตอบแทนพระคุณครู ด้วยการจัดหาเครื่องสังเวย เครื่องกระยาบวช เครื่องเซ่นตามลักษณะของครู
๑.๓ ให้ความบันเทิงแก่ครู เสมือนเป็นการทดสอบฝีมือ ด้วยการรำถวายมือ
๑.๔ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ส่งครูเมื่อเสร็จพิธี
๒. เป็นการแสดงความเคารพครูด้วยการหาดอกไม้ ธูป เทียน บูชาครูเพื่อขอบารมีครูช่วยคุ้มครองศิษย์
๓. เป็นการมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ ขอเป็นผู้สืบทอดศิลปะ
๔. เป็นพิธีประสิทธิ์ประสาทความสำเร็จการศึกษาชั้นสูงของการศึกษาวิชานาฏศิลป์ โขน ละคร
๕. เป็นวันรวมพลังความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์นาฏศิลป์ทุกรุ่น ทุกระดับชั้น ที่พร้อมใจกันจัดพิธีเพื่ออัญเชิญครูมาให้ศิษย์คารวะและแสดงกตเวทิตา เป็นการน้อมจิตรำลึกพระคุณของครู
๖. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามให้คงอยู่
๗. เป็นการประกวดความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามเป็นของตนเอง
              พิธีไหว้ครูโขน ละคร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๔ ส่วน คือ ครูผู้กระทำพิธีไหว้ครู (ตัวแทนพระภรตฤษี) ศีรษะโขน (ตัวแทนครูโขน ละคร ) เครื่องสังเวย เครื่องเซ่น เครื่องกระยาบวช เครื่องบูชา และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือ ปี่พาทย์เครื่องคู่ การไหว้ครูนาฏศิลป์ โขน ละครนั้น มีพิธีถึง ๓ ขั้นตอน คือ พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู และพิธีรับมอบ ทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้ เป็นพิธีที่บูรพาจารย์ได้กำหนดระเบียบและบัญญัติแบบแผนให้ปฏิบัติด้วยหลัก เกณฑ์อันดี สืบเนื่องมาแต่โบราณ โดยกำหนดว่า ครูผู้ใหญ่จะทำพิธีไหว้ครู พิธีครอบและพิธีมอบ ก็ต่อเมื่อศิษย์รำเพลงช้า เพลงเร็วได้แล้ว ถ้าศิษย์ศึกษาและ
              ปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ มีความรู้แตกฉาน หมายถึงรำหน้าพาทย์ชั้นสูง ได้อย่างแม่นยำ สมควรที่จะเป็นตัวแทนของครู สืบทอดการอบรมสั่งสอนชนรุ่นหลังได้เข้าร่วมพิธีมอบอันเป็นพิธีต่อจากพิธี ครอบ
              พิธีมอบนี้ เป็นพิธีที่ประกาศให้ศิษย์ทุกคนรู้ว่า ศิษย์ผู้นั้นมีความรู้ความสามารถสมควรเป็นครูโขนละครได้ เหมือนกับเป็นการเรียนจบหลักสูตรรับประทานปริญญาบัตรในปัจจุบันนี้ สิ่งที่ครูมอบความเป็นครูให้ก็คือ อาวุธที่ใช้ในการแสดงละคร โขน ทุกชนิด และบทละครมัดรวมกันส่งให้ศิษย์ และถ้าศิษย์คนใดมีความสามารถเหนือขึ้นไปอีก จนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญและต้องเป็นศิลปินชายที่แสดงเป็นตัวพระคือ พระราม ต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เสพของมึนเมาเป็นอาจิณ บวชเรียนแล้ว และเป็นที่ ยกย่องของคนทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่ศิลปินด้วยกัน ครูผู้ใหญ่ก็จะมอบ และประสิทธิ์ประสาท ให้เป็นตัวแทนของครู หมายถึงเป็นผู้ ที่สามารถกระทำพิธีไหว้ครูได้ ครอบครู และพิธีมอบ ได้ ศิลปินที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กระทำพีไหว้ครู จะได้รับมอบตำราไหว้ครู ถึงแม้ว่าจะมีตำราไหว้ครูไว้ในครอบครองก็จะกระทำได้เพียงพิธีไหว้ครูเท่า นั้น จะทำพิธีครอบและพิธีรับมอบไม่ได้
              หลักเกณฑ์แต่โบราณไม่นิยมให้ลิง ยักษ์ นาง เป็นผู้ประกอบพิธี เหตุที่ไม่นิยมเพราะ ถ้าแสดงเป็นตัวลิง เขาถือว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าแสดงเป็นตัวยักษ์ ถือว่าเป็นมาร ถ้าเป็นตัวนางถือว่าเป็นอิตถีเพศ ถ้าเป็นตัวพระถือว่าเป็นเทพเจ้า ดังนั้นการรับถ่ายทอดวิชาไหว้ครูนี้ตั้งแต่โบราณมาก็มักจะตกอยู่กับผู้แสดง เป็นตัวพระทั้งนั้น
              ระเบียบของการจัดพิธีไหว้ครูนั้นมีข้อกำหนดว่า ให้กระทำพิธีขึ้นได้เฉพาะในวันพฤหัสบดี เที่ยงวันเท่านั้น เพราะนับถือกันว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู เดือนซึ่งนิยมประกอบพิธีตามโบราณ นิยมก็กำหนดให้ประกอบพีธีในเดือนคู่ เช่นเดือน ๖,๘,๑๐,๑๒,๒ และเดือน ๔ แต่มีข้อยกเว้น เดือนคี่อยู่เดือนเดียวคือเดือน ๙ เช่นเดียวกับกำหนด เดือนมงคลสมรสแต่งงานอนุโลมให้จัดพิธีได้ เหตุที่ใช้เดือนคู่นั้น เพราะถือว่าเดือนคู่เป็นเดือนมงคล ส่วนเดือนคี่นั้นเป็นเศษที่อนุโลมให้ทำพีในเดือน ๙ ได้นั้น ถือว่าเลข ๙ เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา
              ในบางครั้งโบราณ ยังนิยมว่าจะต้องระบุทางจันทรคติเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น เมื่อเลือกได้วันพฤหัสบดีแล้ว จะต้องพิจารณาอีกว่า ตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด ถ้าได้เป็นวันพฤหัสบดีข้างขึ้นก็นับว่าเป็นมงคลยิ่งเพราะข้างขึ้นถือว่าเป็น ” วันฟู ” ข้างแรมเป็น “ วันจม ” การประกอบพิธีนิยมวันข้างขึ้นซึ่งเป็นวันฟูเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ รุ่งเรืองนั่นเอง
              เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ในการประกอบพิธีจะต้องเริ่มพิธีสงฆ์ก่อนเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าก่อนทุก ครั้ง ดังนั้นการจัดสถานที่จึงนิยมตั้งที่บูชาพระพุทธรูปไว้ส่วนหนึ่ง หรือถ้าต้องการที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งรวม ก็ให้ตั้งพระพุทธไว้สูงสุดในมณฑลพิธีแม้ว่าจะไม่ อัญเชิญพระพุทธรูปออกตั้งเป็นประธานในการประกอบพิธี ก็จะต้องเริ่มต้นกล่าวนมัสการคุณพระรัตนตรัยก่อนเสมอ
              สำหรับเครื่องสังเวยจัดเป็นคู่ มีทั้งของสุกและดิบ ของดิบตั้งไว้ทางที่บูชาฝ่ายอสูร (ด้านซ้าย) ส่วนของสุกเป็นของเทพและฝ่ายมนุษย์(ด้านขวา) การจัดสถานที่จัดเป็น ๒ เขต คือ สำหรับ ประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป ฯลฯ ส่วนที่ประกอบพิธีไหว้ครู จะจัดโต๊ะหมู่เป็น ๓ หมู่ คือ โต๊ะครูฝ่ายเทพอยู่กลาง ครูฝ่ายมนุษย์อยู่ทางขวา ครูฝ่ายยักษ์อยู่ ทางซ้าย ส่วนเครื่องดนตรีจะจัดโต๊ะต่ำ ๆ ปูผ้าขาววางเครื่องดนตรีทุกชิ้น ตั้งที่นั่งผู้ประกอบพิธี (เจ้าพิธี) ปูลาดด้วยผ้าหรือหนังสือ วางพานข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน กระแจะจันทร์ มาลัย วางพาน ตำรับโองการ บาตรน้ำมนต์ ไม้เท้า จัดที่สำหรับวงดนตรีปี่พาทย์ให้ไว้ทางขวาหรือทางซ้ายของครูก็ได้แล้วแต่ความ เหมาะสม
              วงปี่พากย์ตั้งอยู่ทางซ้ายมือหรือขวามือก็ได้ เพื่อบรรเลงหน้าพาทย์สำคัญ ตามที่ครูผู้ประกอบพิธีเรียกให้บรรเลง หน้าตะโพนในวงปี่พาทย์จะลาดผ้าขาววางขันกำนล ๘ ขัน (ในขันกำนล ประกอบด้วยเงิน ๑๒ บาท ดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าขาว) ครบตามจำนวนผู้บรรเลงและมีผ้าขาวยาว ๓ เมตร
              เริ่มพิธีไหว้ครู ครูผู้เป็นประธานประกอบพิธี (นุ่งห่มผ้าขาว) สมมติเป็นพราหมณ์ผู้ทรงศีลถือสังข์เดินถอยออกไปอยู่ที่ปลายผ้าขาวที่ปูลาด หันหน้าเข้าหาที่บูชาเรียกหน้าพาทย์เพลง พราหมณ์เข้ามารำเข้ามาในพิธีท้ายเพลงหมุนตัวไปโดยรอบรดน้ำสังข์ (มีความหมายว่าพราหมณ์ผู้ทรงศีล เป็นผู้เข้ามามาประกอบพิธี ส่วนการรดน้ำสังข์ไปโดยรอบนั้น เท่ากับเป็นการอธิษฐานกำหนดใช้สถานที่นี้ประกอบ จากนั้นขึ้นไปนั่งบนตั่งที่หน้าบูชา)
              ประธานในงาน เชิญเข้ามาจุดเทียนทอง (ด้านขวา) เทียน (ด้านซ้าย) และเทียนชัยที่ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเทียนทอง – เงิน จุดธูปบูชา ๙ ดอกแล้วเชิญกลับไปที่พักในที่สมควร
              ประธานผู้ประกอบพิธี จุดธูป ๙ ดอก (บางครั้งใช้ ๓๖ ดอก เท่าจำนวนกำนล) กราบ ๓ หน เริ่มบูชาพระรัตนตรัยแล้วชุมนุมเทวดา
              สำหรับคาถาสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าพิธีจะใช้ท่องในพิธีครอบครู ตอนที่นำเศรียรของครูคือ พ่อแก่ เทริด พระพิราพ มาครอบให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ เพื่อเป็นศิริมงคล
              คาถามงกุฏพระเจ้า “ อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ ”
              ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สมัชชาศิลปิน จะจัด “ พิธีไว้ครู ครอบครู ” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้ศิลปินทุก ๆ สาขา และสมาชิกสมัชชาศิลปินได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธี อันเป็นศิริมงคลกับชีวิตของเหล่าศิลปิน โดย คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วัฒนธรรมเป็นประธานในพิธี โดยพิธีไหว้ครู – ครอบครูครั้งนี้จัดตามแบบแผนปฏิบัติของ ครูอาคม สายาคม ศิษย์เอกและผู้สืบทอดพิธีไหว้ครูของ “ ครูหลวงวิลาสวงงาม ” ครูโขนจากกรมศิลปากร ผู้เป็นที่รักและ เคารพของศิษย์ทั้งโขนและละคร และนับถือท่านเสมือนพระครูฤษี โดย นาย วันชัย อเนกลาภ เป็นผู้กระทำพิธีไหว้ครู (เจ้าพิธี) จึงขอเชิญชวนศิลปิน และยุวศิลปินทุก ๆ สาขาเข้าร่วมพิธีไหว้ครู – ครอบครู ในครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน
เอกสารอ้างอิง หนังสือไหว้ครู โขน – ละคอน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์
วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
กฤษณา พันธุ์มวานิช
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2550&MM=5&DD=3

ที่มาภาพ  : http://www.openbase.in.th/node/3420

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

|0 comments
 

วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณที่เสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจแก่เกษตรกร ของชาติ
                 พระราชพิธีพืชมงคลได้เริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธี ๒ พิธี รวมกันคือ พระราชพิธีมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง กับพระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ โดยพิธีสงฆ์จะจัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสมนามหลวง
                 การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.๒๔๗๙ แล้วว่างเว้นไป ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้น โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีกระแสรับสั่งให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย
                 ในการประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พระมหากษัตริย์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำขวัญพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก เป็นต้น ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกหน้าขวัญ เป็นพระราชพิธีเริ่มการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยจะโปรดเกล้าแต่งตั้งนางเทพีหาบพันธุ์พืช เช่น พันธุ์ข้าว ตามหลังพระยาแรกนา โดยมีพระโคเทียมแอกและไถพร้อมอยู่ ณ บริเวณนาจำลองที่ท้องสนามหลวง พระยาแรกนาจะไถหว่านพันธุ์พืช โดยใช้พันธุ์พืชที่นางเทพีหาบตามหลังหว่านลงบนนาจำลองเสมือนเป็นการประกาศ แก่เกษตรกรว่าฤดูกาลทำนาเริ่ม แล้วโดยสมมุติว่าพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาเริ่มการหว่านไถเป็นแบบอย่างและ เป็นมงคล เพื่อให้เกษตรกรดำเนินตาม
                 พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐาน เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือเป็นอาหารหลักของประชาชนในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือ บุพพัณณะ หรือ บุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่น ๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรือ อปรัณชาติ หมายถึง พืชจำพวกถั่ว งา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างก็เรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณปรัณณชาติ ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้น เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับเผือกมันต่าง ๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น เมล็ดพืชที่หว่านแล้วนั้น เกษตรและราษฎรจะนำไปผสมกับพันธุ์พืชของตนหรือเก็บในถุงเงินเพื่อเป็นสิริ มงคลให้การประกอบเกษตรกรรมของตนได้ผลดี
                 สำหรับการพยากรณ์ในการเสี่ยงทายในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะเป็น
- ผ้านุ่งแต่งกาย ผ้านุ่ง ซึ่งพระยาแรกนาขวัญตั้งสัตยาอธิฐานหยิบนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน ๓ ผืน คือ
หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตก มีผ้าคลุมให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น คือ
ถ้าหยิบได้ผ้า ๔ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
ถ้าหยิบได้ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในในนาจะได้ผลบริบูรณ์และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าหยิบได้ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้างไม่ได้ผลเต็มที่
ของกิน ๗ สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมีข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา หล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น คือ
ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี
ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
                 ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.๙) ทรงเพาะพันธุ์ข้าวชั้นดีในเขตพระราชฐาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่จัดพันธุ์ข้าวบรรจุซองเพื่อแจกแก่เกษตรกรด้วย
                 ส่วนตำแหน่งพระยาแรกนาในสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ ส่วนพระยาแรกนาในรัชกาลปัจจุบัน (ร.๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นพระยาแรกนา
                 พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี เนื่องจากระยะนี้เป็นระยะที่เหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลัก ของคนไทย แต่มิได้กำหนดวันที่แน่นอน เพียงแต่พิจารณาว่า วันใดในเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามเหมาะสมก็ให้จัดในวันนั้น
                 พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ตรงกับวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และยังคงดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้ดัดแปลงให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและพิธีของพราหมณ์ก็ตัดทอน ให้เหลือน้อยลง ซึ่งในปีนี้ นาย บรรพต หงส์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นพระยาแรกนา เทพีคู่หาบทอง คือ นางสาว รัตน์ติยา แจ้งจร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๖ ว สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนางสาว คมจันทร์ สรงจันทร์ นักวิชาการเกษตร ๖ ว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการ เทพีคู่หาบเงิน คือ นางสาว พันธ์ทิพย์ จารุเสน นักวิชาการตรวจสอบบัญชี ๖ สำนักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ กรุงเทพมหานครและนางสาว นุชจรี วัชรวงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการเกษตร ๕ สำนัก ส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ในการนี้ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำ พันธุ์ข้าวนาสวน จำนวน ๖ พันธ์ นำเข้าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อนำไปไถ่หว่าน ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง
                 สำหรับพระโคแรกนา ที่ใชัไถหว่านปีนี้ได้แก่ พระโคเทิด กับ พระโคทูน และได้จัดพระโคคู่สำรอง ได้แก่ พระโคโรจน์ กับ พระโคเลิศ ซึ่งเป็นพันธุ์ขาวลำพูนลูกผสม คือ เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ขาวลำพูนกับพันธุ์อเมริกันบราห์มัน ผิวขาว
                 นอกจากนี้ได้จัดของสำหรับการพยากรณ์เสี่ยงทาย โดยจัดเตรียมผ้านุ่งเสี่ยงทายของพระยาแรกนา โดยจะมี ๓ ผืน คือ ๖ คืบ ๕ คืบ และ ๔ คืบ และของกิน ๗ อย่าง คือ ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา หญ้า น้ำ และเหล้า เพื่อให้พระโคเสี่ยงทาย หลังจากเสร็จพีธีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน บรรจุในซองพลาสติกแจกจ่าย ให้บรรดาประชาชนผู้สนใจและชาวนาทั่วประเทศรับไปเก็บไว้เป็นมิ่งขวัญและสิริ มงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม
                 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขอเชิญชวนให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าวได้เข้าร่วมใน “ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ” หรือที่เรียกว่า “ วันพืชมงคล ” ณ มณฑลท้องสนามหลวง เพื่อเป็นความเป็นศิริมงคลและความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกร เพราะการปลูกข้าวเป็นวิถีชีวิตไทยที่อยู่คู่ชาติไทยมาช้านาน
เอกสารอ้างอิง วันสำคัญ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กฤษณา พันธุ์มวานิช
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

 http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2550&MM=5&DD=2

Tuesday, September 25, 2012

ประเพณีทอดกฐิน : ตำนาน ความหมาย และอานิสงส์

|0 comments


          หลังจากวันออกพรรษาเป็นเวลา ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ หรือจำง่าย ๆ ว่าตั้งแต่วันตักบาตรเทโวจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า " เทศกาลกฐิน " ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม -๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เมื่อพูดถึง “ กฐิน ” คนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับซองทำบุญที่ได้รับในช่วงนี้ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ กฐิน ว่ามีตำนาน ความหมาย อย่างไร เชื่อว่าคงรู้กันไม่มากนัก ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำมาเสนอให้ได้ทราบ ดังต่อไปนี้
ตำนานความเป็นมา
          มีตำนานเล่าว่าในครั้งพุทธกาล ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐาประมาณ ๓๐ รูป ถือธุงดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความ ประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี จึงพากันเดินทางไป พอไปถึงเมืองสาเกตก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นตามพระวินัย ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางไปเฝ้า ระหว่างทางฝนตก หนทางเป็นโคลนตม ต้องบุกลุยไปจนถึงกรุงสาวัตถีได้รับความลำบากมาก ครั้งได้เฝ้าฯ พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารถึงเรื่องจำพรรษาและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทูลถึงความตั้งใจที่จะมาเฝ้า และความยากลำบากในการเดินทางให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐิน ได้ และจะได้รับอานิสงส์จากพระวินัยบางข้อ ( กรานกฐิน เป็นพิธีฝ่ายภิกษุที่ได้รับมอบผ้ากฐิน แล้วนำผ้าที่ได้ไปตัดเย็บย้อมทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง )
ความหมาย


          คำว่า " กฐิน " มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึง ๔ ประการ คือ
          ๑ . เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวรที่อาจเรียกว่า " สะดึง " เนื่องจากสมัยพุทธกาลการทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ให้เป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง / ผ้าห่ม / ผ้าห่มซ้อนที่รวมเรียกว่า จีวร ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ( ผ้านุ่งพระ เรียกสบง / ผ้าห่ม เรียกจีวร / ผ้าห่มซ้อน เรียกสังฆาฎิ ) โดยพระสงฆ์จะช่วยกันทำโดยอาศัยแม่แบบนี้ เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้ในปีต่อ ๆ ไป การรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านี้เรียกว่า " เดาะ " หรือ " กฐินเดาะ " ( เดาะกฐินก็เรียก )
          ๒ . เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น และต้องถวายตามกำหนดเวลา ๑ เดือนดังกล่าว ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเก่าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล ( ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว ) ก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้
          ๓ . เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน ทั้งนี้ เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกกันติดปากว่า " ทอดกฐิน " ก็คือการทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด ๑ เดือนที่ว่า ถ้าทำก่อนหรือหลังไม่ถือว่าเป็นกฐิน
          ๔ . เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ใน การมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ประเภทของกฐิน
          จะแยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑ . กฐินหลวง ๒ . กฐินราษฎร์
          ๑ . กฐินหลวง มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชนชาวไทยได้นับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้ทรงรับเรื่องกฐินเป็นพระราชพิธี อย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดัง กล่าว เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง ดังนั้น วัดใดก็ตามไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไป ทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว ก็เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น แต่สมัยต่อมากฐินหลวงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินและได้รับพระกรุณา ให้ถวายผ้าพระกฐินตามควรแก่ฐานะ กฐินหลวงปัจจุบันจึงได้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
                    ๑ . ๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์ เอง หรือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไป ถวายเป็นประจำ ณ วัดสำคัญ ๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น
                    ๑ . ๒ กฐินต้น หมายถึง กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์
                    ๑ . ๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระ ราชทานไปถวายยังวัดหลวง ที่นอกเหนือไปจากวัดสำคัญ ๑๖ วัดที่กำหนดไว้ เหตุที่มี กฐินพระราชทาน ก็เพราะปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลต่าง ๆ ที่สมควรขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ ซึ่งกฐินดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกฐินที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ นำไปถวายนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบเพื่อเป็นการจองไว้ก่อนด้วย
          ๒ . กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปถวายตามวัดต่าง ๆ ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัดที่กล่าวไว้แล้ว ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะของการทอด คือ
                    ๒ . ๑ กฐินหรือมหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตนศรัทธาเป็นการเฉพาะ ผ้าที่เป็นองค์กฐินจะเป็นผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ จะเย็บแล้วหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว และนิยมถวายของอื่น ๆ ที่เรียกว่า บริวารกฐิน ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วย เช่น เครื่องอุปโภคบริโภคของพระภิกษุสงฆ์ อย่างหมอน โอ่งน้ำ เตา ไม้กวาด จอบ เสียบ อาหาร ยาต่าง ๆ เป็นต้น
                    ๒ . ๒ จุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบเร่ง เดิมเรียกแบบไทย ๆ ว่า กฐินแล่น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกและกำลังมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเป็นด้าย ทอด้ายให้เป็นผ้า ตัดผ้าและเย็บผ้าเป็นจีวร ย้อมสี และต้องทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ก็ต้องกรานและอนุโมทนาในวันนั้น ๆ ด้วย เรียกว่าเป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
                    ๒ . ๓ กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน ไม่จำเป็นว่าใครบริจาคมากน้อย แต่มักตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐินรวมทั้ง
บริวารไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้ ซึ่งกฐินชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะนอกจากทำบุญกฐินแล้ว ยังนำปัจจัยที่เหลือไปช่วยทำนุบำรุงวัด เช่น ก่อสร้างศาสนสถาน บูรณะปฎิสังขรณ์โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
                    ๒ . ๔ กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร กล่าวคือในท้องถิ่นที่มีวัดมาก ๆ อาจจะมีวัดตกค้างไม่มีใครไปทอด จึงมีผู้มีจิตศรัทธาเสาะหาวัดอย่างนี้ แล้วนำกฐินไปทอด ซึ่งมักจะเป็นวันใกล้สิ้นเทศกาลกฐินหรือวันสุดท้าย จึงเรียกว่า กฐินตกค้าง หรืออาจเรียกว่า กฐินโจร เพราะกิริยาอาการ ที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวจู่ ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวคล้ายโจรบุก ซึ่งกฐินแบบนี้ต่างกับกฐินอื่นคือ ไม่มีการจองล่วงหน้า และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด จะทอดหลายวัดก็ได้ และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไม่ได้ทอด ( กรณีไปหลายวัด ) ไปจัดเป็นผ้าป่า เรียกว่า " ผ้าป่าแถมกฐิน " ก็ได้
อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน
          การทอดกฐินถือเป็นการทำบุญพิเศษที่ทำได้เพียงปีละครั้ง และต้องอยู่ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตามพุทธบัญญัติ ดังนั้น อานิสงส์ หรือผลดีจึงมีหลายประการ กล่าวคือ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งห่มใหม่ ได้ชื่อว่าทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างกุศลจิตแก่ผู้ทำบุญเพราะทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งการทอดกฐินยังก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นการร่วมมือกันทำคุณงามความดี และหากการถวายกฐินนั้นมีส่วนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ก็จะได้ชื่อว่ามีส่วนช่วยรักษาศาสนสถานและศาสนวัตถุให้ยั่งยืนต่อไป
ข้อเสนอแนะ
          ความมุ่งหมายของการทอดกฐินเดิม คือ การบำเพ็ญกุศล ด้วยการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนตามพุทธานุญาต แต่ปัจจุบันประเพณีกฐินได้มีการเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์เดิม และก่อให้เกิดความลำบากใจแก่ผู้ทำบุญเป็นอย่างมาก เพราะกลายเป็นการเน้นการสร้างถาวรวัตถุ จนทำให้หลายคนถูกเรี่ยไรหลายวัดหลายซองทั้งเต็มใจและไม่เต็มใจ เกิดความเอือมระอา เป็นบุญที่คนเบือนหน้าหนี ทั้งๆ ที่ “ กฐิน ” เป็นการสร้างบุญกุศลที่ดีและมีกำหนดเวลาแน่นอน ดังนั้น วัดและพุทธศาสนิกชนที่จะทำบุญกฐิน จึงควรเน้นไปยังความหมายเดิม แต่น่าจะปรับเปลี่ยนแนวคิดบางเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างการบริจาคปัจจัย หากจะมี ก็ควรเพื่อการปฏิสังขรณ์ศาสนสถานที่ชำรุดทรุดโทรม หรือจะสร้างใหม่ก็ให้พอเหมาะพอควร ไม่มุ่งความใหญ่โต หรูหรา ขณะเดียวกัน ก็อาจนำปัจจัยที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆต่อชุมชน และสังคมบ้าง เช่น ตั้งเป็นกองทุนเพื่อการศึกษาพระ เณร หรือเด็กวัดที่ขาดแคลน เป็นต้น ข้อสำคัญ ควรตัดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นออกไป ส่วนการฉลองหรือสมโภชองค์กฐิน ไม่ควรมุ่งความสนุกสนาน เพราะมิใช่วัตถุประสงค์ของการจัดกฐิน และที่ควรทำอย่างยิ่ง คือ การงดเลี้ยงสุราเมรัย และเล่นอบายมุขอื่นๆระหว่างการเดินทางหรือในระหว่างมีงาน
          หากปฏิบัติได้ดังกล่าว เชื่อว่า การทำบุญทอดกฐินคงจะมีส่วนช่วยเสริมความงดงามทั้งศาสนสถาน และความเจริญงอกงามแห่งจิตใจของพุทธศาสนิกชน สมกับ เป็นการทำบุญปีละครั้งที่มีคุณค่า ความหมายในทางพุทธศาสนาของเรา
...................................

อมรรัตน์ เทพกำปนาท

กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2548&MM=10&DD=1
ที่มาภาพ : http://www.oknation.net/blog/wadwangnoy/2008/02/11/entry-2
 

บุญบั้งไฟ...ประเพณีขอฝนชาวอีสานในเดือนหก

|0 comments
บุญบั้งไฟ...ประเพณีขอฝนชาวอีสานในเดือนหก


เมื่อ ย่างเข้าสู่เดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมในแต่ละปี ชาวไทยจะมีประเพณีสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานบุญวันวิสาขบูชา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในประเพณีที่ขาดไม่ได้ คือ งานบุญบั้งไฟของชาวอีสาน ที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆปีในเดือนแห่งการเริ่มต้นฤดูฝนนี้
ที่มาของบุญบั้งไฟนี้มีหลายความเชื่อ บ้างเล่าว่า ณ บนสวรรค์ชั้นฟ้ามีเทพบุตรนามว่า วัสสกาลเทพบุตร เป็นผู้มีหน้าที่ตกแต่งน้ำฟ้าน้ำฝน กล่าวกันว่าฝนจะตกหรือไม่ก็อยู่ที่เทพบุตรองค์นี้เป็นสำคัญ หากใครทำถูกทำชอบ ปฏิบัติดี ท่านก็จะบันดาลให้ฝนฟ้าตก ใครทำไม่ถูกไม่ชอบ ท่านก็ไม่ส่งฟ้าฝนมาให้ และสิ่งที่ วัสสกาลเทพบุตร โปรดคือการบูชาด้วยไฟ ดังนั้น มนุษย์จึงทำบั้งไฟ และจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาท่าน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล และได้กลายมาเป็นประเพณีทำบุญบั้งไฟสืบต่อมาจนทุกวันนี้
ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งก็ว่า การจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นมานั้น เป็นเสมือนการส่งข่าวหรือ บอกข่าวแก่ พระยาแถน (พระยาแถน หรือ ผีฟ้าผีแถน คือ เทพผู้ให้เกิดเป็นดิน เป็นฟ้า เป็นฝน ในความเชื่อของชาวอีสาน) ซึ่งมีหน้าที่ให้น้ำฝนแก่มนุษย์โลก เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้เกิดความแห้งแล้งขึ้นแล้ว และมวลมนุษย์ทั้งหลายกำลังเดือดร้อนเรื่องการขาดแคลนน้ำ ดังนั้น การส่งบั้งไฟขึ้นไป จึงเป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์ กับ พระยาแถน หรือผีฟ้าผีแถน จากความเชื่อที่กล่าวมา นอกจากนี้ ชาวอีสานยังมีตำนานที่เกี่ยวเนื่องด้วยการแห่บั้งไฟอื่นๆอีก เช่น ตำนานเรื่องพระยาคันคาก ตำนานเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ เป็นต้น
วิธีทำบั้งไฟ เขาจะทำโดยการนำเอาดินประสิว หรือ ภาษาอีสาน เรียกว่า ขี้เจีย มาคั่วผสมกับถ่านตำให้แหลก เรียกว่า หมื่อ เมื่อได้หมื่อแล้ว ก็เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นแล้วเจาะรู โดยอาจะทำเป็นบั้งไฟหมื่นบั้งไฟแสน (บั้งไฟที่มีน้ำหนักดินปืน ๑๒ และ ๑๒๐ กิโลกรัมตามลำดับ) ซึ่งว่ากันว่าทั้งสองอันเป็นแบบฉบับของจรวด หรือไม่ก็อาจทำในรูปบั้งไฟพลุ (คือ บั้งไฟที่จุดเพื่อให้เกิดเสียงดัง ยิ่งดังมากเท่าไรยิ่งดี) หรือทำเป็นหมากไฟดอกไม้ ซึ่งทั้งสองอย่างหลังนี้ เขาว่าเป็นต้นตำรับของลูกระเบิดในปัจจุบันนั่นเอง บั้งไฟนี้ใครอยากจะทำแบบไหนก็สุดแท้แต่ความพอใจ เมื่อเสร็จแล้วก็ประดับตกแต่งบั้งไฟของตนให้ดูสวยสดงดงาม
ครั้นถึงวันรวมบั้งไฟ (หรือภาษาอีสานเรียกว่า วันโฮม) ชาวบ้านก็จะมารวมกันที่วัด พร้อมจัดขบวนแห่ไปรอบๆเมือง โดยในขบวนจะมีทั้งชายและหญิงร่ายรำและร้องเล่นกันไปตลอดเส้นทางที่ขบวนผ่าน ซึ่งเนื้อเพลงที่นำมาร้องนั้น บางครั้งอาจจะมีเนื้อหาสาระออกนัยเป็นสองแง่สองง่ามอยู่บ้าง แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ถือสาด้วยคิดว่าเป็นการร้องเล่นเพื่อความสนุกสนาน
สำหรับคืนวันรวมบุญบั้งไฟนั้น บางชุมชนก็จะจัดให้มีการเส็งกลอง (การเส็งกลอง คือ การประกวดหรือตีกลองแข่งกัน) โดยแต่ละหมู่บ้านอาจจะแข่งกันเอง หรืออาจจะเชิญหมู่บ้านใกล้เคียง หรือผู้ที่สนใจมาร่วมแข่งขันด้วยก็ได้ การตัดสินแพ้ชนะขึ้นอยู่กับเสียงกลองว่าใครดังกว่าผู้อื่น ก็เป็นฝ่ายชนะ
ในรุ่งขึ้นชาวบ้านก็จะพากันไปทำบุญตักบาตร ถวายอาหารพระภิกษุสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเช้าเสร็จแล้ว เจ้าของบั้งไฟทั้งหลายก็จะนำบั้งไฟของตนออกมาแห่ไปรอบๆอีกครั้ง ชาวบ้านที่ได้เห็นก็จะพากันมารอดูการจุดบั้งไฟ หากบั้งไฟของใครพุ่งขึ้น ก็จะช่วยกันหามแห่เจ้าของไปรอบๆ ส่วนบั้งไฟของใครพุ่งลงหรือไม่ติดก็จะถูกจับโยนลงโคลนเป็นที่สนุกสนาน และเมื่องานเลิกแล้ว พวกที่เป็นเจ้าของบั้งไฟที่ขึ้นก็จะไปฟ้อนรำขอข้าวของเงินทองเรียกว่า นำฮอยไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ นอกจากจะเป็นประเพณีที่สำคัญและเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองที่ชาวอีสานถือว่าต้อง ปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกและความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในชุมชน และยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีตอีกด้วย
...................................................................


น.ส.สมฤทัย ชูศรี

นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2548&MM=5&DD=10
ภาพจาก  :  http://www.panyathai.or.th/
 

“ประเพณีใส่กระจาด” ชาวไทยพวนสอนให้รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ

|0 comments
 “ประเพณีใส่กระจาด” ชาวไทยพวนสอนให้รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ
 
การทำบุญ นับเป็นการทำความดีทางหนึ่งของพุทธศาสนิกชน นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยนิยมทำบุญโดยมีความเชื่อว่าการทำบุญจะทำ ให้จิตใจผ่องใส เป็นการเสริมบารมี ต่ออายุและสร้างบุญกุศลให้กับตัวผู้ปฏิบัติเอง การทำบุญจึงถือเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน โดยแต่ละท้องถิ่นก็จะมีการทำบุญที่คล้ายหรือต่างกันออกไป ตามความเชื่อของแต่ละชุมชน
สำหรับ “ประเพณีใส่กระจาด” หรือตามภาษาพวน เรียกว่า “เส่อกระจาด” เป็นอีกประเพณีของชาวไทยพวนที่ปฏิบัติกันในเขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ถือเป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ประจำปีของชาวพวน
มักจัดในงานบุญเทศน์มหาชาติ คือ ในช่วงเทศกาลออกพรรษา (เดือน ๑๑) ข้างแรมของทุกปี กล่าวคือ เมื่อ
หมู่บ้านใดกำหนดให้มีเทศน์มหาชาติแล้ว ทางวัดจะส่งหนังสือกัณฑ์เทศน์ไปตามวัดต่างๆ เพื่อให้ส่งพระเข้าร่วมเทศน์ ประเพณีนี้จะมี ๓ วัน ประกอบด้วย วันต้อนสาว วันตั้ง หรือ วันเส่อ(ใส่)กระจาด และวันเทศน์มหาชาติ
“วันต้อนสาว” คือ วันก่อนวันตั้ง (วันใส่กระจาด) เป็นวันที่เจ้าของบ้านจะชวนลูกสาวของเพื่อนบ้านที่
คุ้นเคย รวมไปถึงชาวบ้านในละแวกนั้นมาช่วยกันทำขนม ห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) รวมทั้งอาหารต่างๆ
ไว้ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวที่ชอบพอกันได้พบปะพูดคุยและช่วยเตรียม อาหารสำหรับเลี้ยงแขกตลอดคืน หรือพูดง่ายๆว่า ให้จีบกันได้ แต่อยู่ในสายตาผู้ใหญ่
วันที่สอง คือวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันใส่กระจาด ชาวบ้านจะนำของ เช่น อ้อย ส้ม ธูปเทียน หรืออื่นๆ ไป
“ใส่กระจาด” ตามบ้านของคนรู้จัก ขณะเดียวกันเจ้าของบ้านนั้นๆ ก็จะนำข้าวต้มมัดฝากไปให้คนที่บ้าน ๑ มัด เรียกว่า “คืนกระจาด” (กระจาดในที่นี้มีลักษณะเดียวกับกระจาดที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน)
วันต่อมาซึ่งเป็นวันที่สาม อันเป็นวันเทศน์มหาชาติ ชาวบ้านก็จะนำของที่แขกมาใส่กระจาดมาทำเป็นกัณฑ์เทศน์ไปถวายพระ เสมือนเป็นการทำบุญร่วมกันของคนในชุมชนและถือว่าทำให้ได้บุญกุศลพร้อมๆกันไป ด้วย
วันใส่กระจาด และ คืนกระจาด นับเป็นวันที่ให้ความสุขแก่ผู้ที่ได้ร่วมงาน ถือกันว่าแขกที่ไปใส่กระจาดจะต้องกินอาหารของเจ้าของบ้านทุกบ้านอย่างละเล็ก ละน้อย เพื่อรักษาน้ำใจและไม่ให้เกิดอาการ
น้อยอกน้อยใจกันขึ้น เป็นการสานสัมพันธ์ และผูกไมตรีต่อกัน
แม้ว่า “ประเพณีใส่กระจาด” จะเป็นประเพณีเล็กๆ ที่จัดเฉพาะชุมชนไทยพวนเท่านั้น แต่ก็นับเป็น
ประเพณีที่มีความสำคัญและถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน เป็นประเพณีที่สอนให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงคุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ภายใต้หลักธรรมของศาสนา ซึ่งนอกจากจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ผ่องใสแล้ว และยังเป็นประเพณีที่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักมักคุ้น โดยมีผู้ใหญ่ช่วยดูแลให้ด้วย ข้อสำคัญ
ประเพณีนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกัน อันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนในชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีความรัก สามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดังนั้น “ประเพณีใส่กระจาด” จึงเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่ต่อไป

------------------------------------


เพ็ญนภา วิชาพร

นิสิตฝึกงาน กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
หมายเหตุ : ชาวพวนมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ทางภาคอีสานจะเรียกว่า “ไทยพวน” ส่วนภาคกลางเรียก ลาวพวน ชาวพวนได้กระจายตัวอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำงึมของลาว สมัยกรุงธนบุรี เมื่อลาวได้รวมเป็นอาณาจักร ประชากรฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
ชาวพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และกระจายตัวอยู่ในจังหวัดอุดรธานี พิจิตร แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย สิงห์บุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และลพบุรี





ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

 http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2548&MM=5&DD=5
ที่มาภาพ  : http://lopburi.mots.go.th

ประเพณีอาบน้ำคนแก่ ภูมิปัญญาไทยร้อยโยงใจสายใยครอบครัว ที่สำนักวิปัสสนาธรรมโชติ ต้นน้ำอ่างศรีตรัง

|0 comments

ผมตั้งใจจะเขียนภาพรวมลุ่มน้ำย่อยอ่างศรีตรัง ต่อ แต่ยังหาเวลาเหมาะๆ ไม่ได้ครับ ก็นำเสนอภาพย่อยทรัพยากรด้านประเพณีวัฒนธรรมอันดีในลุ่มน้ำฯ ก่อนที่จะผ่านพ้นเดือนแห่งเทศกาลกตัญญู


วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ (๒๐ เมษายน) เป็นวันเพ็ญฉันตื่นนอนเช้าตรู่กว่าปกติ เจ้านกน้อยส่องเสียงร้องขับขานอวดกันที่ยอดไม้ใกล้กับที่พัก แสงไฟยังสอดส่องเส้นทางสัญจร จัดเตรียมเปลสนามและสัมภาระที่จำเป็นใส่เป้ใบเก่าคู่ใจ พร้อมกับกระเป๋าลายพลางขนาดเล็กอีกหนึ่งใบ จุดมุ่งหมายคือสำนักวิปัสสนาธรรมโชติ ซึ่งตั้งอยู่บนต้นน้ำอ่างศรีตรัง ตามที่พูดคุยนัดหมายกับท่านพระยุคล ยาณวโร และน้องนักศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์เกษตร ลูกศิษย์พระอย่างหลวมๆ ไว้เมื่อเมื่อวานตอนเช้าตรู่ เตรียมกายใจซื้อสิ่งของสำหรับใส่บาตร สะพายเป้มุ่งตรงไปยังศาลาบิณฑบาตรบริเวณอ่างศรีตรัง ตั้งจิตใส่บาตร สนทนากับท่านพระยุคล จึงได้ทราบว่าวันนี้จะมีงานอาบน้ำคนแก่ที่สำนักฯ (จริงๆ ประเพณีนี้จะจัดในช่วงวันที่ ๑๓ -๑๕ เมษายนของทุกปี แต่ จะวันไหนไม่สำคัญเมื่อกายใจพร้อมก็นัดหมายได้) จิตใจรู้สึกว่าดีใจมากที่ได้ไปร่วมงานบุญแสดงความกตัญญูครั้งนี้โดยไม่ทราบ ล่วงหน้ามาก่อน ศาสนิกชนใส่บาตรทำบุญทำทานเสร็จสิ้น แบ่งข้าวปลาอาหารใส่รถยนต์ (จริงๆ แล้ววันนี้ตั้งใจจะเดินเท้าไปกับท่านฯ แต่รับทราบว่าจะต้องรีบไปเตรียมพิธีฯ) ออกเดินทางออกจาก อ่างเก็บน้ำ มอ.
 
 แผนที่เส้นทางสู่สำนักวิปัสสนาธรรมโชติ
เจ้า เครื่องกลเหล็กสี่ล้อยางพาผ่านทางศูนย์วิจัยยางสงขลาหรือที่เราพูดจนติดปาก ว่า "คอหงส์" ไปบนถนนลูกรังสองข้างทางร่มรื่นไปด้วยป่ายางและสวนวนเกษตร(Agroforestry) บ้าน และกระท่อมหลังน้อยของชุมชนต้นน้ำคอหงส์กระจายเรียงรายอยู่เป็นระยะอยู่ใน สวน เมื่อสุดปลายทางถนนสายแคบพาหนะที่แสนดีจอดสงบนิ่ง ทั้งพระสงฆ์และฆารวาสลงมาช่วยกันหอบหิ้วสิ่งของจากการบิณฑบาตร เดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินเท้าเล็กๆ ผ่านสะพานข้ามลำน้ำเล็กๆ ที่มีน้ำใสเย็นไหลรินหล่อเลี้ยงตลอดทั้งปี ขึ้นบันไดหินที่จัดเรียงสู่ศาลาธรรมกลางผืนป่า ชั้นล่างลูกหลานหลายคนกำลังสาละวนเร่งจัดเตรียมสำรับอาหาร ผมจัดวางสิ่งของแล้วยกมือไว้ทักทายคนที่ไม่เคยรู้จักหน้าตาแต่มีจิตใจตรงกัน ต่างคนต่างยิ้มให้กัน พูดจาตอบเสมือนกับเป็นลูกหลานคนสนิทใกล้ชิดกัน 

สภาพชุมชนต้นน้ำคอหงส์
 สภาพแวดล้อมสำนักวิปัสสนาฯ ทางคนทางน้ำ
ขอ เดินสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่โดยรอบบริเวณสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ฝูงไก่แจ้คุ้ยเขี่ยใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันจนเน่าเปื่อยหาสัตว์เล็กที่ อาศัยอยู่เป็นอาหารให้ลูกน้อยจิกกิน เป็นห่วงโซ่อาหาร สัตว์ป่าหลากหลายชนิดประสานเสียงร้องกล่อมไพร เคลื่อนไหวอย่างอิสระบนยอดไทรใหญ่
 
 องค์ประกอบแวดล้อมโดยรวมของสำนักฯ
พระ ฉันท์เช้าเสร็จ เป็นสัญญาณที่เด็กวัดเก่าจำได้ดี มานั่งล้อมวงกินข้าวก้นบาตรกันจนอิ่มท้อง น้องๆ นักศึกษาที่ทำค่ายยุวศิลป์และนักเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ กลุ่มหนึ่งเดินทางมาถึง มิรอช้าช่วยกันจัดดอกไม้ประกอบพิธี พระสงฆ์จากวัดอื่นและผู้ถือศิลเดินทางมาถึง ลูกหลาน ญาติ และผู้นับถือเริ่มทยอยมาเพิ่ม ใกล้เวลาช่วยกันจัดเตรียมอย่างเพรียบพร้อมทุกอย่าง จากหลายมือหลายดวงใจรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างรอเวลาท่านสนทนาแนวคิดในการพัฒนากับผมไปพลางๆ เสียงดังขึ้นจากเครื่องเสียงให้ทุกคนมานั่งรวมกันที่ศาลาธรรมจนเนิงแน่น ล้นลามขยายสู่ลานธรรมบนผืนทรายใต้ร่มไม้ใหญ่ พิธีกรรมเริ่มขึ้นเชิญคุณยายเขื่อนจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย คุณลุงนำสวด พระท่านสวดประพรหมน้ำมนต์จนชื่นใจ คุณยายและลูกหลานถวายเครื่องสังฆภัณฑ์ ร่วมกันกรวดน้ำ ช่วยลำเลียงและประเคนอาหารเที่ยง พระสงฆ์ สามเณร และแม่ชี ฉันท์เที่ยง ทยอยกันเดินลงมารวมกลุ่มที่ลานธรรมพูดคุยถามไถ่ทุกข์สุขด้วยความห่วงใย จนพระฉันท์เที่ยงเสร็จสิ้นเสียงสวดมนต์ทุกคนกลับมาบนศาลาอีกครั้ง นั่งล้อมวงทานอาหารเที่ยงพร้อมพูดคุยซักถามกันอิ่มทั้งกายและใจ ช่วยกันเก็บปัดกวาด จนสะอาดเรียบร้อย
 
ช่วยกันจัดเตรียม
 พิธีกรรมภาคเช้า
ถวายอาหารเที่ยง
พิธีกรรม เริ่มต่อ คุณยายเขื่อนและยายอนงค์ออกมานั่งด้านหน้าตัวแทนลูกหลานนำดอกไม้ธูปเทียน คุณลงทำหน้าที่อีกครั้งนำกล่าวขอขมา ทุกคนพนมมือกล่าวตาม "กายกรรม สาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม หากข้าพเจ้าทั้งหลายเกิดประมาทพลาดพลั้งแก่ท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ขอให้ท่านอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด และขอได้โปรดอำนวยพรให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีความสุขความเจริญตลอดไป และขอตั้งจิตอธิษฐานขอให้ท่านเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดไป" จนเสร็จสิ้น ลุกขึ้นทยอยเดินลงมายังลานผืนทรายคุณยายทั้งสองมานั่งที่เก้าอี้ที่จัด เตรียมไว้ลูกหลานทำพิธีอาบน้ำ เริ่มการรดน้ำด้วยพระยุคลตามแถวด้วยลูกหลาน และญาติๆ ที่นับถือใช้ขันใบน้อยบรรจงตักน้ำและดอกไม้จากขันใบใหญ่ ยกขึ้นเหนือศรีษะแล้วค่อยรดน้ำรินไหลจากสองมือผู้เยาว์วัยสู่สองมืออันโอบ อ้อม ทุกคนรดน้ำพร้อมกล่าวคำอวยพรแด่คุณยายแตกต่างกันคุณยายให้พรตอบ ถึงเวลาอาบน้ำจริงตัวแทนลูกหลานตักน้ำมาอาบพอเป็นพิธี เพื่อรักษาสุขภาพ ท่านผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ที่ลูกหลานซื้อเตรียมมาให้พร้อมแป้งหอม
 พิธีกรรมภาคบ่าย การขอขมาและการอาบน้ำคนแก่
วันนี้ ช่างมีความสุขและรู้สึกดีมาก ๆ กับประเพณีไทยชาวแดนสะตอ เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ ยังสร้างความรักใคร่กลมเกลียวเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของวงศ์ตระกูลและสังคมไทย เป็นภูมิปัญญาไทยร้อยดวงใจที่แสนแยบยล จริงๆ ครับ

ประเพณี พิธีกรรมใน งานศพ

|0 comments

ศาสนพิธี ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ การกระทำแต่ละขั้นตอนนั้น โบราณ ท่านได้สอนธรรมะไว้ใน พิธีกรรม เหล่านั้นไว้ด้วยอุบายอันแยบคาย เช่น ประเพณี พิธีกรรมใน งานศพ

การ รดกัน ที่มือของผู้ตาย ซึ่งบางท่านเข้าใจว่าเป็นการขอ อโหสิกรรม ความจริงแล้วมุ่งเตือนสติผู้ที่มาร่วมงานว่าผู้ที่ตายทุกคนไปแต่มือเปล่าไม่ ได้อะไรติดตัวไปเลย แม้แต่น้ำที่เทลงฝ่ามือก็ไหลร่วง

เอาเงินเหรียญ ใส่ปาก ก็เพื่อจะเตือนให้รู้ว่า แม้แต่บาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ เพราะ สัปเหร่อ บางคนเขายังควักออกมา

มัดตราสังข์ สามเปราะ มัดที่คอ หมายถึง บ่วงรักลูก มัดที่มือ หมายถึง บ่วงรักสามี-ภรรยา มัดตรงข้อเท้า หมายถึง บ่วงรักทรัพย์สมบัติ ติดอยู่สามบ่วงนี้ ไป นิพพาน ไม่ได้ ต้องเวียนว่ายอยู่ใน สังสารวัฏฏ์ ไม่มีจบสิ้น

เคาะโลง รับศีล ไม่ใช่ให้ คนตาย มารับศีล แต่เพื่อเป็นการบอกคนที่มาร่วมงานว่าเอาแต่มัวเมาประมาทขาดสติ ไม่สนใจใน หลักธรรมคำสอน เมื่อตายไปหมดโอกาสทำความดี จะเคาะจนโลงแตกก็ลุกขึ้นมาไม่ได้

จุดตะเกียง หรือ จุดเทียน ไว้ หน้าศพ เตือนให้รู้ว่าการเกิดของคนเราต้องการแสงสว่าง ต้องมี พระธรรม เป็น ดวงประทีป ช่วยส่องทาง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต

สวดอภิธรรม มักสวดเป็น ภาษาบาลี คนเป็นฟังไม่รู้เรื่อง จึงนึกว่าสวดให้ คนตาย แต่จริง ๆ แล้วเป็นการ สวด เพื่อสอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อที่จะได้นำหลักธรรมไปปฏิบัติให้เกิดผลดีใน ชีวิตประจำวัน ดังนั้นแม้จะฟังไม่เข้าใจแต่เพื่อให้การฟังสวดอภิธรรมเกิดผล ควรสำรวมส่งจิตไปอยู่กับ เสียงพระสวด ให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเสียงพระสวดก็เกิดสมาธิจิตได้

บวชหน้าไฟ มักเข้าใจว่า เป็นการบวชจูงผู้ตาย ขึ้นสวรรค์ ความจริงนั้น ไม่ใช่ เพราะการบวชหน้าไฟเป็นการ ปลงธรรมสังเวช เบื่อหน่ายต่อชีวิตใน โลกียวิสัย ไม่ประสงค์จะอยู่ในเพศฆราวาส มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น เข้าสู่ มรรคผลนิพพาน

การนิมนต์พระจูงออกหน้าศพ เพื่อจะสอนคนที่ยังอยู่ให้ได้สำนึกว่า ตอนที่ยังอยู่ต้องเดินตามหลังพระ หมายความว่าได้เดินตาม พระธรรมคำสอน ของพระนั่นเอง จึงอยู่ดีมีสุข มีความเจริญก้าวหน้า

การ เวียนซ้าย 3 รอบ หมายถึง การ เวียนว่ายตายเกิด อยู่ใน ภพทั้งสาม อันมี กามภพ รูปภพ อรูปภพ ด้วยอำนาจ กิเลสตัณหาอุปทาน ก็จะเป็นทุกข์ไม่จบสิ้น ฉะนั้นต้องทวนกระแสกิเลส เป็นการสอนธรรมชั้นสูง จึงได้พาศพเวียนซ้าย

การใช้ น้ำมะพร้าว ล้างหน้าศพ เพื่อชี้ให้เห็นว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ผู้เข้าสู่ มรรคผลนิพพาน ต้องชำระจิตให้สะอาดด้วยน้ำพระธรรม

การแปรรูป หลังจากเผาแล้ว มีการเก็บ อัฐิ และมีการเขี่ย ขี้เถ้า ผู้ตายให้เป็นรูปร่าง กลับไปกลับมาเพื่อจะบอกว่า ได้กลับชาติใหม่แล้ว ตามวิบากของกรรมต่อไป



ขอบคุณข้อมูลจาก : ที่มา : mindcyber.com